> SET > ITD

20 มีนาคม 2024 เวลา 15:49 น.

ITD กระทบความเสี่ยงเจ้าหนี้ โบรกแนะเลี่ยงหุ้นแบงก์ใหญ่

#ITD #ทันหุ้น - กรณีบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD มีปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน ส่งผลกระทบต่อธนาคารเจ้าหนี้ผู้ปล่อยกู้ กลุ่มธนาคารมีแนวโน้มตั้งสำรองหนี้ฯ สูงขึ้นจากความเสี่ยงของ ITD


บล.บัวหลวงระบุว่า ปัญหาสภาพคล่องของ ITD อาจทำให้กลุ่มธนาคารมีแนวโน้มตั้งสำรองหนี้ฯสูงขึ้น อ้างอิงข่าวจากประชาชาติธุรกิจ วันที่ 20 มี.ค. 24 รายงานว่าธนาคารที่ปล่อยกู้ให้กับ ITD หลักๆ มี 4 แห่ง วงเงินรวม 2.4 หมื่นล้านบาทแบ่งเป็น 1) BBL 8 พันล้านบาท (เป็นสินเชื่อไม่มีหลักประกัน 4 พันล้านบาท) 2) KBANK 6 พันล้านบาท (เป็นสินเชื่อไม่มีหลักประกัน 3พันล้านบาท) 3) SCB 6 พันล้านบาท ( เป็นสินเชื่อไม่มีหลักประกันพันล้านบาท)และ4)KTB 4 พันล้านบาท (เป็นสินเชื่อไม่มีหลักประกัน 2พันล้านบาท)


บล.บัวหลวงประเมินว่าธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้ของ ITD น่าจะมีการตั้งสำรองหนี้ฯ สำหรับสินเชื่อของ ITD ไว้เป็น Stage 2 แล้ว (Under-performing loan : สินเชื่อที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้น) ทั้งนี้ หากสินเชื่อของ ITD ไหลตกชั้นเป็น Stage 3 ( Non-performing loans: NPLs หรือสินเชื่อที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต) จะทำให้ธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้ ITD ต้องตั้งสำรองหนี้ฯ สูงขึ้น


โดยบล.บัวหลวงประเมินว่าหากสินเชื่อของ ITD ไหลตกชั้นเป็น Stage 3 หรือ NPLs ทำให้ธนาคารที่คาดว่าเป็นเจ้าหนี้ของ ITD ต้องชั้นจัดและตั้งสำรองสูงขึ้นเฉลี่ยเป็น Stage 3 หรือ NPLs จากปัจจุบันที่คาดว่าอยู่ใน stage 2 แล้ว โดยหากอ้างอิงข้อมูลสินเชื่อจากประชาติธุรกิจ บล.บัวหลวงคาดกระทบต่อแนวโน้มกำไรสุทธิปี 2024 เรียงผลกระทบได้ดังนี้ KTB 3.5% (ภายใต้คาดการณ์สินเชื่อที่ 4 พันล้านบาท) SCB 3.5% (ภายใต้คาดการณ์สินเชื่อที่ 6 พันล้านบาท) BBL 3.2% (ภายใต้คาดการณ์สินเชื่อที่ 8 พันล้านบาท) และ KBANK 2.6% (ภายใต้คาดการณ์สินเชื่อที่ 6 พันล้านบาท)


บล.บัวหลวงมองว่าประเด็นดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้ของ ITD บ้าง และเป็นปัจจัยกดดันราคาหุ้นได้ในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม บล.บัวหลวงประเมินว่าธนาคารที่เป็นเจ้าหนี้ ITD ได้มีการตั้งสำรองหนี้ฯ ไว้บางส่วนแล้ว และมีสำรองส่วนเกิน (Management overlay) เพื่อรองรับความเสี่ยงไว้บางส่วนด้วย จึงมองว่าธนาคารน่าจะบริหารจัดการได้


บล.กสิกรไทยเชื่อว่าธนาคารได้มีการกันสำรองไว้บางส่วนแล้วในช่วงที่ผ่านมาสำหรับ ITD และฐานะการเงินของธนาคารยังแข็งแกร่งเพียงพอหากต้องตั้งสำรองเพิ่มเติม หากอิงตัวเลขตามประชาชาติธุรกิจ การตั้งสำรองเต็มจำนวนจะกระทบกำไรปี 2567 ที่ 19%/15%/10% ต่อ BBL/SCB/KTB โดยบล.กสิกรไทยเชื่อว่า SCB และ KTB ตั้งสำรองไปแล้วพอสมควร ผลกระทบอาจไม่มาก ส่วนผลกระทบต่อ CET1 มีเล็กน้อยเท่านั้นที่ 20-30 bps ของแต่ละธนาคาร บล.กสิกรไทยประเมินผลกระทบต่ออัตราเงินปันผลหากต้องตั้งสำรองจะลดลงเป็น 4.4%/7.1%/5.8% จาก 5.4%/8.4%/6.4% ของ BBL/SCB/KTB


บล.กสิกรไทยคงมุมมองเชิงลบต่อกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยผลกระทบจากกรณี ITD น่าจะสร้างจิตวิทยาเชิงลบ แต่ผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจน่าจะจำกัดได้ นอกจากประเด็นนี้ เรามองกำไรของกลุ่มธนาคารจะเติบโตระดับต่ำในปี 2567-68 จากแนวโน้ม NIM ที่ลดลง และค่าใช้จ่ายที่อาจจะลดลงไม่ได้มากแล้ว

บล.กสิกรไทยแนะนำให้ลดน้ำหนักการลงทุนในธนาคารขนาดใหญ่ และเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในธนาคารขนาดเล็กอย่าง KKP และ TISCO




รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่

FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/

YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA

Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_

LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5

TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news

Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X