> SET > TNITY

10 สิงหาคม 2023 เวลา 09:11 น.

TNITY Q2/66 ขาดทุน 239 ล. -991% เหตุหุ้นลูกค้าถูกฟอร์ซเซล 5 ฟลอร์ติด

#TNITY #ทันหุ้น – TNITY แจ้งผลงานไตรมาส 2/66 ขาดทุน 239 ล้านบาท เหตุบันทึกผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 232 ล้านบาท เกิดจากลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์สองราย ถูกบังคับขายหลักประกัน(ฟอร์ซเซล) ซึ่งราคาหุ้นลง 30% (ราคา Floor) ทุกวันเป็นเวลาติดต่อกันถึง 5 วันทำการ ส่วนลูกหนี้ผิดนัดชำระหุ้น MORE อีก 479 ล้านบาท ยังไม่ตั้งสำรอง


บริษัท ทรีนีตี้ วัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือ TNITY แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาส 2/66 ขาดทุนสุทธิ 239.18 ล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้น 1.12 บาท ผลประกอบการลดลง 991 % เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 26.85 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.13 บาท


สำหรับผลงานงวด 6 เดือน 2566 ขาดทุนสุทธิ 262.37 ล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้น 1.22 บาท ผลประกอบการลดลง 414 % เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 83.62 ล้านบาท กำไรต่อหุ้น 0.39 บาท


บริษัทชี้แจงว่า ผู้สอบบัญชีได้สอบทานงบการเงิน และมีความเห็นอย่างมีเงื่อนไขว่า ยกเว้นผลกระทบจากเรื่องลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทตามที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30มิถุนายน 2566 จำนวน 3,411 ล้านบาท ได้รวมลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์จำนวน 479 ล้านบาท ที่ผิดนัดชำระจากรายการซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนแห่งหนึ่งที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพบว่ามีการซื้อขายที่ผิดปกติในเดือนพฤศจิกายน 2565


ผู้บริหารของบริษัทฯและบริษัทย่อยพิจารณาว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติและการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสำหรับธุรกรรมดังกล่าวจะส่งผลเสียต่อรูปคดี ด้วยเหตุนี้บริษัทฯและบริษัทย่อยจึงมิได้บันทึกค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสำหรับธุรกรรมดังกล่าว และผู้บริหารของบริษัทฯและบริษัทย่อยเชื่อว่ามีโอกาสสูงที่รายการที่เกิดขึ้นดังกล่าว จะตกเป็นโมฆะเสมือนไม่เคยเกิดธุรกกรรมดังกล่าว และความเสียหายดังกล่าวจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวนจากทรัพย์สินที่ศาลได้มีคำสั่งอายัดไว้


เนื่องด้วยเหตุการณ์นี้เป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติ ปัจจุบันผู้บริหารของบริษัทฯและบริษัทย่อยไม่สามารถหากรณีเทียบเคียงในอดีตหรือหลักฐานอื่นใดที่สนับสนุนความเชื่อดังกล่าวให้กับผู้สอบบัญชีได้ ประกอบกับมีผู้เสียหายที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก จึงอยู่นอกเหนือวิสัยที่ผู้สอบบัญชีจะได้มาซึ่งหลักฐานเกี่ยวกับความเสียหายที่แต่ละกิจการได้รับและยื่นคำร้องขอรับคืนความเสียหายต่อหน่วยงานทางการที่เกี่ยวข้อง ว่ามีมูลค่าเท่าใดและมูลค่ารวมเกินกว่ามูลค่าทรัพย์สินที่ได้มีคำสั่งอายัดไว้หรือไม่


จึงทำให้ผู้สอบบัญชีไม่ได้มาซึ่งหลักฐานที่เหมาะสมอย่างเพียงพอที่จะสรุปได้ว่าค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสำหรับลูกหนี้ดังกล่าวควรมีหรือไม่ หรือควรมีในจำนวนเท่าใด ผู้สอบบัญชีจึงไม่สามารถสรุปได้ว่าจำป็นต้องปรับปรุงมูลค่าค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่เพียงใด และผู้สอบบัญชีจึงได้แสดงความเห็นอย่างมีเงื่อนไขต่อรายการนี้ ซึ่งหากจำเป็นต้องปรับปรุงรายการดังกล่าว จะมีผลกระทบต่อสินทรัพย์รวมและกำไรสะสมที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงินรวม และ งบแสดงฐานะการเงินเฉพาะกิจการ (ซึ่งแสดงเงินลงทุนในบริษัทย่อยตามวิธีส่วนได้เสีย) ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 จะลดลง และกำไรและกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จรวมในงบกำไรขาดทุนเบ็ดเสร็จเฉพาะกิจการสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 จะมีผลขาดทุนเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

ยกเว้นผลกระทบซึ่งอาจจะเกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น ไม่พบสิ่งที่เป็นเหตุให้เชื่อว่าข้อมูลทางการเงินระหว่างกาลไม่ได้จัดทำขึ้นตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 34 เรื่อง การรายงานทางการเงินระหว่างกาล ในสาระสำคัญจากการสอบทานของผู้สอบบัญชี

1) ภาพรามของการดำเนินธุรกิจและการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญ

ด้วยความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนในตลาดหุ้นไทยปรับลดลงจากต้นปี 2566 จากกรณีมีหุ้นกู้ของบริษัทจดทะเบียนบางแห่งผิดนัดชำระหนี้ ส่งผลให้ผู้ลงทุนมีความกังวลในการลงทุนทั้งในตลาดตราสารทุน และตราสารหนี้ จึงเห็นแรงเทขายในหุ้นขนาดกลางและขนาดเล็ก แม้เศรษฐกิจไทยจะมีโอกาสจากการท่องเที่ยว แต่ภาคส่งออกได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์ผันผวนต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 1 โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงจากสิ้นเดือนมีนาคม 2566 ที่ 1,609.1 7 จุดเป็น 1,503.10 จุดสิ้นเดือนมิถุนายน จากปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์เฉลี่ยต่อวันสำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2566 อยู่ที่ 49,964 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปี 2565 ที่ 77,663 ล้านบาท หรือลดลงในอัตราร้อยละ 35.66


ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้ามีปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสที่ 2 ปี 2565 ที่มีปริมาณซื้อขายสัญญาฯ ต่อวัน 496,896 สัญญา เป็น 510,275 สัญญาในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 2.69


ในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 นักลงทุนต่างชาติมีสัดส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 51.38 จากงวดเดียวกันปี 2565 ที่มีสัดส่วนร้อยละ 45.77 และนักลงทุนสถาบันในประเทศมีสัดส่วนการซื้อขายเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 8.76 จากงวดเดียวกันปี 2565 ที่ร้อยละ 7.26 ขณะที่นักลงทุนรายย่อยมีสัดส่วนการซื้อขายหลักทรัพย์ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 32.79 จากงวดเดียวกันปี 2565 ที่มีสัดส่วนร้อยละ 39.43 และบัญชีบริษัทหลักทรัพย์มีสัดส่วนมูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 7.07 จากงวดเดียวกันปี 2565 ที่ร้อยละ 7.54


2) ผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566

รายได้

รายได้รวมของบริษัทและบริษัทย่อยสำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2566 ลดลงจากงวดเดียวกันปี 2565 จาก 192.67 ล้านบาท เป็น 77.93 ล้านบาท หรือลดลงในอัตราร้อยละ 59.55 รายได้สำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงมีดังนี้


1) รายได้จากธุรกิจหลักทรัพย์ลดลงจาก 145.54 ล้านบาทในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เป็น 90.22 ล้านบาท หรือลดลงในอัตราร้อยละ 57.85 เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของรายได้หลักต่อไปนี้

รายได้ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ลดลงจาก 65.12 ล้านบาทในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เป็น 27.45 ล้านบาทในงวดเดียวกันของปี 2566 หรือลดลงในอัตราร้อยละ 57.85 เป็นผลจากการลดลงของปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์โดยรวมของตลาดหลักทรัพย์และปริมาณการซื้อขายของลูกค้ารายย่อยซึ่งเป็นลูกค้าหลักของบริษัทที่ลดลงอย่างมาก

รายได้ค่าธรรมเนียมและบริการลดลงจาก 33.86 ล้านบาทในตรมาสที่ 2 ปี 2565 เป็น 12.37 ล้านบาทในงวดเดียวกันปี 2566 หรือลดลงในอัตราร้อยละ 63.47 เป็นการลดลงของค่าธรรมเนียมจัดจำหน่าย

รายได้ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นจาก 42.65 ล้านบาทในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เป็น 46.30 ล้านบาทงวดเดียวกันปี 256 หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 8.55 เป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ที่ปรับเพิ่มขึ้นระหว่างไตรมาสตามอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับขึ้น


2) บริษัทและบริษัทย่อยมีขาดทุน และผลตอบแทนจากเงินลงทุนรวม 51.91 ล้านบาทในไตรมาสที่ 2 ปี 2566 เพิ่มขึ้นจากขาดทุนและผลตอบแทนจากเงินลงทุนรวม 1.10 ล้านบาทในไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เป็นผลจากความผันผวนของตลาดซึ่งดัชนีตลาดหลักทรัพย์ลดลงถึง 100 จุดระหว่างไตรมาส

ค่าใช้จ่าย

บริษัทและบริษัทย่อยมีค่าใช้จ่ายรวมสำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2566 จำนวน 377.73 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายสำหรับงวดเดียวกันปี 2565 ที่มีจำนวน 162.18 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 132.91 ค่าใช้จ่ายที่สำคัญที่เปลี่ยนแปลงได้แก่

ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานลดลงจาก 84.98 ล้านบาทสำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เป็น 75.50 ล้านบาท สำหรับงวดเดียวกันปี 2566 หรือคิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 1 1.16 เป็นการลดลงตามผลการดำเนินงานโดยรวมของบริษัท

ค่าธรรมเนียมและบริการจ่ายลดลงจาก 19.41 ล้านบาทสำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เป็น 9.37 ล้านบาทสำหรับงวดเดียวกันปี 2566 หรือคิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 51.73 ซึ่งผันแปรตามปริมาณการซื้อขายที่ลดลง


ในเดือนมิถุนายน 2566 บริษัทบันทึกผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 232.18ล้านบาท เกิดจากลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์สองราย ถูกบังคับขายหลักประกันซึ่งมีการลดลงของราคาในอัตราร้อยละ 30 (ราคา Floor) ทุกวันเป็นเวลาติดต่อกันถึง 5 วันทำการซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในตลาดหลักทรัพย์ ส่งผลให้มูลค่าหลักประกันลดลงอย่างรวดเร็วและไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ บริษัทอยู่ระหว่างติดตามการชำระหนี้จากลูกค้าเพิ่มเติม

ค่าใช้จ่ายทางการเงินเพิ่มขึ้นจาก 26.94 ล้านบาทสำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เป็น 36.09 ล้านบาทสำหรับงวดเดียวกันปี 2566 หรือคิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.96 เกิดจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ใช้เพื่อการชำระราคาและเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ซึ่งปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ

บริษัทและบริษัทย่อยมีขาดทุนสุทธิจำนวน 239.18 ล้านบาทสำหรับไตรมาสที่ 2 ปี 2566 เทียบกับกำไรสุทธิสำหรับงวดเดียวกันของปี 2565 จำนวน 26.85 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 990.80


3) ผลการดำเนินงานสำหรับงวดหกเดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566

รายได้

รายได้รวมของบริษัทและบริษัทย่อยสำหรับงวดหกเดือนแรกของปี 2566 ลดลงจากงวดเดียวกันปี 2565 ร้อยละ 59.12 กล่าวคือ บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวมสำหรับงวดหกเดือนแรกปี 2566 จำนวน 174.42 ล้านบาท เทียบกับรายได้รวมของงวดเดียวกันปี 2565 ที่มีจำนวน 426.74 ล้านบาท โดยมีการเปลี่ยนแปลงของรายได้ที่สำคัญดังนี้


รายได้จากธุรกิจหลักทรัพย์ลดลงจาก 300.59 ล้านบาทในงวดหกเดือนแรกปี 2565 เป็น 202.25 ล้านบาทในงวดเดียวกันของปี 2566 หรือลดลงในอัตราร้อยละ 32.72 เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงของรายได้หลักต่อไปนี้

รายได้ค่านายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ลดลงจาก 158.73 ล้านบาทในงวดหกเดือนแรกปี 2565 เป็น 70.58 ล้านบาท ในงวดเดียวกันของปี 2566 หรือลดลงในอัตราร้อยละ 55.53 เป็นผลจากการลดลงของปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์โดยรวมของตลาดหลักทรัพย์ที่ลดลงจาก 87,342 ล้านบาทต่อวันในงวดหกเดือนแรกปี 2565 เป็น 58,658 ล้านบาทต่อวันในงวดเดียวกันปี 2566 หรือลดลงในอัตราร้อยละ 32.84


รายได้ค่าธรรมนียมและบริการลดลงจาก 50.11 ล้านบาทในงวดหกเดือนแรกปี 2565 เป็น 30.05 ล้านบาทในงวดเดียวกันปี 2566 หรือลดลงในอัตราร้อยละ 40.03 เป็นการลดลงของค่าธรรมเนียมจัดจำหน่าย

รายได้ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นจาก 85.28 ล้านบาทในงวดหกเดือนแรกปี 2565 เป็น 94.62 ล้านบาทในงวดเดียวกันปี 2566 เป็นผลจากอัตราดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นในระหว่างงวดตามอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมีการปรับขึ้น


บริษัทมีขาดทุนและผลตอบแทนจากเงินลงทุนรวม 116.65 ล้านบาทในงวดหกเดือนแรกปี 2566 ในขณะที่ในงวดเดียวกันของปี 2565 บริษัทมีกำไรและผลตอบแทนจากเงินลงทุนรวม 24.24 ล้านบาท เป็นผลจากความผันผวนของตลาด โดยดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวลดลงจากสิ้นเดือนธันวาคม 2565 ที่ 1,668.66 จุด เป็น 1,503.10 จุดสิ้นเดือนมิถุนายน 2566


ค่าใช้จ่าย

บริษัทและบริษัทย่อยมีค่าใช้จ่ายรวมสำหรับงวดหกเดือนแรกปี 2566 จำนวน 504.65 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายสำหรับงวดเดียวกันปี 2565 ที่มีจำนวน 325.22 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นในอัตราร้อยละ 55.17 ค่าใช้จ่ายที่สำคัญที่เปลี่ยนแปลงได้แก่

ค่าใช้จ่ายผลประโยชน์พนักงานลดลงจาก 182.69 ล้านบาทสำหรับงวดหกเดือนแรกปี 2565 เป็น 132.71 ล้านบาทสำหรับงวดเดียวกันปี 2566 หรือคิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 27.36 ผันแปรตามผลการดำเนินงานโดยรวม


ค่าธรรมเนียมและบริการจ่ายลดลงจาก 35.09 ล้านบาทสำหรับงวดหกเดือนแรกปี 2565 เป็น 22.89 ล้านบาท สำหรับงวดเดียวกันปี 2566 หรือคิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 34.7 7 ซึ่งผันแปรตามปริมาณการซื้อขายที่ลดลง

เดือนมิถุนายน 2566 บริษัทย่อยบันทึกผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 232.18 ล้านบาท เกิดจากลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์สองรายถูกบังคับขายหลักประกันซึ่งมีการลดลงของราคาในอัตราร้อยละ 30 (ราคา Floor) ทุกวันเป็นเวลาติดต่อกันถึง 5 วันทำการ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในตลาดหลักทรัพย์ ส่งผลให้มูลค่าหลักประกันลดลงอย่างรวดเร็วและไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ บริษัทย่อยอยู่ระหว่างติดตามการชำระหนี้จากลูกค้าเพิ่มเติม

ค่าใช้จ่ายทางการเงินเพิ่มขึ้นจาก 53.12 ล้านบาทสำหรับงวดหกเดือนแรกปี 2565 เป็น 71.12 ล้านบาทสำหรับงวดเดียวกันปี 2566 หรือคิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.89 เกิดจากการเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่ใช้เพื่อการชำระราคา เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ และเงินให้กู้ยืมอื่นซึ่งปรับขึ้นตามอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด


กำไร (ขาดทุน) สุทธิ

บริษัทและบริษัทย่อยมีขาดทุนสุทธิจำนวน 262.37 ล้านบาทสำหรับงวดหกเดือนแรกปี 2566 ลดลงจากกำไรสุทธิสำหรับงวดเดียวกันของปี 2565 จำนวน 83.61 ล้านบาท คิดเป็นอัตราลดลงร้อยละ 413.80


ฐานะทางการเงิน

สินทรัพย์รวม

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 บริษัทและบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวม 5,761.35 ล้านบาทลดลงเมื่อเทียบกับสินทรัพย์รวมเมื่อสิ้นปี 2565 ที่มีจำนวน 7,238.25 ล้านบาท ซึ่งประกอบด้วยรายการที่สำคัญ ได้แก่ ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า จำนวน 3,411.30 ล้านบาทลดลงจาก 4,523.39 ล้านบาท เงินลงทุนจำนวน 866.03 ล้านบาทลดลงจาก 1,062.22 ล้านบาท และเงินให้กู้ยืมระยะสั้นอื่นจำนวน 855.21 ล้านบาทลดลงจาก 1, 125.56 ล้านบาท โดยคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 59.21 ร้อยละ 15.03 และร้อยละ 14.84 ของสินทรัพย์รวม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ตามลำดับ


ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของบริษัทย่อย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 จำนวน 3,411.30 ล้านบาท ประกอบด้วย


ลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์สุทธิ (หลังหักค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น) จำนวน 2,698.07 ล้านบาท ซึ่งลดลงจาก 3,721.16 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2565 ซึ่งบริษัทย่อยมีการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นเพิ่มขึ้นจำนวน 232.18 ล้านบาทในเดือนมิถุนายน 2566 ซึ่งเกิดจากลูกหนี้เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์สองรายถูกบังคับขายหลักประกันซึ่งมีการลดลงของราคาในอัตราร้อยละ 30 (ราคา Floor) ทุกวันเป็นเวลาติดต่อกันถึง 5 วันทำการ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในตลาดหลักทรัพย์ ส่งผลให้มูลค่าหลักประกันลดลงอย่างรวดเร็วและไม่เพียงพอที่จะชำระหนี้ บริษัทย่อยอยู่ระหว่างการติดตามการชำระหนี้จากลูกค้าเพิ่มเติม


ลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์อื่นจำนวน 713.23 ล้านบาท ซึ่งรวมลูกหนี้ผิดนัดชำระจากหลักทรัพย์ MORE จำนวน 479 ล้านบาทที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพบว่ามีการซื้อขายที่ผิดปกติในเดือนพฤศจิกายน 2565 โดยบริษัทย่อยได้ยื่นหนังสือต่อกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เพื่อร้องทุกข์กล่าวโทษให้ดำเนินคดีต่อลูกหนี้ดังกล่าวและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับลูกหนี้ในข้อหาร่วมกันฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาอันมีลักษณะเป็นปกติธุระ ซึ่งเป็นความผิดมูลฐานตามพรบ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 อัยการพิเศษ สังกัดสำนักงานอัยการสูงสุด พิจารณาเห็นว่าพยานหลักฐานที่ได้รวบรวมมานั้น ปรากฎหลักฐานที่เชื่อได้ว่าผู้ถูกกล่าวหากับพวกมีพฤติการณ์ในการกระทำความผิดหรือเกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับการฉ้อโกงดังกล่าว จึงได้ยื่นคำร้องต่อศาล ซึ่งศาลแพ่งได้มีคำสั่งไต่สวนคำร้องฉุกเฉินและมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราวซึ่งมีมูลค่ารวม 4,470.87 ล้านบาทพร้อมดอกผลของเงินและทรัพย์สินที่เกิดขึ้น จนกว่าศาลจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ซึ่งในวันเดียวกัน บริษัทย่อยได้ยื่นคำร้องขอคุ้มครองสิทธิจากการกระทำความผิดมูลฐานพร้อมหลักฐานแสดงรายละเอียดแห่งความเสียหายและจำนวนความเสียหายที่ได้รับต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงาน ปปง. ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2566 เพื่อให้ ปปง. และ อัยการดำเนินการให้ได้รับการชดใช้ความเสียหายตามกฎหมายต่อไป ปัจจุบันคดีความอยู่ระหว่างกระบวนการยุติธรรมโดยยังไม่มีความคืบหน้าอย่างเป็นสาระสำคัญ


ผู้บริหารของบริษัทและบริษัทย่อยพิจารณาว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเหตุการณ์ที่ผิดปกติและการตั้งค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสำหรับธุรกรรมดังกล่าวจะส่งผลเสียต่อรูปคดี และอาจเป็นการกระทำที่เสมือนหนึ่งบริษัทย่อยยอมรับว่า ธุรกรรมที่พิพาทดังกล่าว เป็นธุรกรรมที่มีผลสมบูรณ์ และยอมรับในความเสียหายที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้บริษัทและบริษัทย่อยจึงมิได้บันทึกค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นสำหรับธุรกรรมดังกล่าว และผู้บริหารของบริษัทและบริษัทย่อยเชื่อว่ามีโอกาสสูงที่รายการที่เกิดขึ้นดังกล่าว จะตกเป็นโมฆะเสมือนไม่เคยเกิดธุรกรรมดังกล่าว และความเสียหายดังกล่าวจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวนจากทรัพย์สินที่ศาลได้มีคำสั่งอายัดไว้


บริษัทย่อยได้จำแนกลูกหนี้ธุรกิจหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน เป็นลูกหนี้ที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตจำนวน 2,930.58 ล้านบาท ลูกหนี้ที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความเสี่ยงด้านเครดิตจำนวน 500.99 ล้านบาทซึ่งมีหลักประกันคุ้มหนี้ และลูกหนี้ที่มีการด้อยค่าด้านเครดิตจำนวน 294.15 ล้านบาท ซึ่งบริษัทย่อยได้ตั้งสำรองค่าเผื่อผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินแล้ว


เงินลงทุน

เงินลงทุนของบริษัทและบริษัทย่อย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 มีจำนวน 866.03 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 15.03 ของสินทรัพย์รวม ลดลงจากเมื่อสิ้นปี 2565 ที่มีจำนวน 1,062.22 ล้านบาท ในจำนวนนี้ เป็นเงินลงทุนชั่วคราวจำนวน 500.48 ล้านบาท ซึ่งลดลงจาก 781.21 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2565 เงินลงทุนระยะยาวจำนวน 285.60 ถ้านบาทซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 219.55 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2565 และเงินลงทุนในบริษัทร่วมและการร่วมค้าซึ่งได้บันทึกโดยวิธีส่วนได้เสียจำนวน 79.95 ล้านบาทซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 61.46 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2565 จากการเพิ่มขึ้นของเงินลงทุนในบริษัทร่วม 13.5 ล้านบาท


เงินให้กู้ยืมระยะสั้นอื่น

เงินให้กู้ยืมระยะสั้นอื่นของบริษัท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 มีจำนวน 855.21 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 19.84 ของสินทรัพย์รวม ลดลงจากเมื่อสิ้นปี 2565 ที่มีจำนวน 1,125.56 ล้านบาท ซึ่งบริษัทให้กู้ยืมแก่บริษัทและบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกันโดยมีการค้ำประกันโดยการจำนำตราสารทุนที่เป็หลักทรัพย์จดทะเบียนและมิได้จดทะเบียนของผู้กู้


หนี้สิน

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 บริษัทและบริษัทย่อยมีหนี้สินรวม 4,283.83 ล้านบาท ลดลงจากหนี้สินรวมเมื่อสิ้นปี 2565 ที่มีจำนวน 5,498.57 ล้านบาท การลดลงของหนี้สินรวมเกิดจากเงินกู้ยืมรวมลดลงจาก 4, 780.59 ล้านบาทเมื่อสิ้นปี 2565 เป็น 3,608.50 ล้านบาท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ซึ่งรวมเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินจำนวน 900 ล้านบาท หุ้นกู้ระยะสั้นจำนวน1,977.10 ล้านบาท หุ้นกู้ระยะยาวจำนวน 731.40 ล้านบาท เพื่อใช้สำหรับการชำระราคา เงินให้กู้ยืมเพื่อซื้อหลักทรัพย์ และเงินให้กู้ยืมอื่นในระหว่างไตรมาส ซึ่งอัตราหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น 2.44 เท่าลดลงจาก 2.75 เท่า ณ สิ้นปี 2565


ส่วนของผู้ถือหุ้น

ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2566 บริษัทและบริษัทย่อยมีส่วนของผู้ถือหุ้นจำนวน 1,477.52 ล้านบาทลดลงจากเมื่อสิ้นปี 2565 ที่มีจำนวน 1,739.69 ล้านบาท เป็นผลโดยหลักจากขาดทุนสุทธิสำหรับงวด 262.37 ล้านบาท โดยบริษัทมีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นร้อยละ - 32.62 ต่อปี ลดลงจากงวดเดียวกันปี 2565 มีอัตราร้อยละ 12.99 ต่อปี

รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ที่นี่

FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/

YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA

Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_

LINE@ คลิก https://lin.ee/uFms4n5

TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news

Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X