> เคล็ดลับลงทุน > LHFG

17 กรกฎาคม 2023 เวลา 06:00 น.

Yuanta ชวนแซ่บ by อ.อ้วน : LHFG กำลังถึงรอบ Turnaround

#LHFG #ทันหุ้น - วันนี้ผมนำบทวิเคราะห์ของ บล. หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด มาเล่าให้ฟังเช่นเดิมครับ คือ บริษัท แอล เอช ไฟแนนซ์เชียล กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เป็น Holding Company ที่ลงทุนในธุรกิจด้านการเงิน โดยแบ่งตามลักษณะการประกอบธุรกิจได้แก่ ธุรกิจธนาคารพาณิชย์ ดำเนินธุรกิจผ่าน ธนาคารแลนด์ แอน เฮาส์ จำกัด (มหาชน), ธุรกิจหลักทรัพย์และหลักทรัพย์จัดการกองทุน ดำเนินธุรกิจผ่าน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แลนด์ แอนด์ เฮาส์ จำกัด และ ธุรกิจที่ปรึกษาทางการเงิน ดำเนินธุรกิจผ่าน บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮาส์ แอดไวเซอรี่ จำกัด 


นอกจากนี้ยังมีการลงทุนโดยตรงผ่าน Holding Company ในตราสารหนี้และตราสารทุน โดย ณ สิ้นปี 2565 LHFG มีรายได้หลักมาจากการปล่อยสินเชื่อผ่าน ธนาคารแลนด์ แอน เฮาส์ (LHBANK) คิดเป็นสัดส่วนราว 86% ของรายได้ทั้งหมด ซึ่ง LHBANK มีสัดส่วนการปล่อยสินเชื่อแก่ลูกค้ากลุ่มบริษัท (Conglomerate & Corporate) ราว 47% ในปี 2565 ขณะที่สัดส่วน SME, ลูกค้าทั่วไป (Retail) และ ลูกค้าจากไต้หวัน (TWN) อยู่ที่ 30%, 19% และ 4% ตามลำดับ


หลังจากที่บริษัทเร่งตั้งสำรองไปมากตั้งแต่ช่วง 2H/64 จน Coverage Ratio เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจาก 109% ณ สิ้นปี 2563 เป็น 207% ณ สิ้นปี 2565 ซึ่งเป็นระดับที่ใกล้เคียงกับเป้าหมายของบริษัทที่ 225% และเพียงพอสำหรับการรองรับความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจในอนาคต จึงทำให้ความจำเป็นในการเร่งตั้งสำรองน้อยลง เป็นผลให้ 1Q/66 บริษัทรายงานกำไรสุทธิ 670 ล้านบาท (+94.3% QoQ, +30.9% YoY) เติบโตสูง QoQ จาก Credit Cost ที่ลดลงไปมาก แม้ NIM ทรงตัวและพอร์ตสินเชื่อหดตัวจากการโอนลูกหนี้บางส่วนไปยังโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ (Asset Warehousing) ของธปท. ขณะที่ YoY เติบโตตามพอร์ตสินเชื่อที่ขยายตัวถึง 16.2% YoY ประกอบกับ NIM ที่สูงขึ้นตามสัดส่วนพอร์ตสินเชื่อ SME และ Retail


สำหรับแนวโน้ม 2Q/66 เบื้องต้นเราคาดกำไรสุทธิราว 715 ล้านบาท (+6.7% QoQ, +206.5% YoY) การเติบโตสูง YoY หลักๆ มาจาก Credit Cost ที่ลดลงเหลือ 0.9% จาก 1.7% ใน 2Q/65 เพราะบริษัทไม่จำเป็นต้องตั้งสำรองสูงเหมือนปีก่อน หลังจากเร่งตั้งสำรองไปมากจน Coverage Ratio เพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับ 210% แล้ว ณ สิ้น 1Q/66 ประกอบกับพอร์ตสินเชื่อที่คาดโต 14.9% YoY เป็น 2.24 แสนล้านบาท และ NIM ที่สูงขึ้นจาก 2.6% ใน 2Q/65 เป็น 2.7% จากการปรับสัดส่วนพอร์ตสินเชื่อ ส่วน QoQ คาดจะเติบโตตามพอร์ตสินเชื่อ และ NIM ที่ขยับขึ้น หลังธปท. ขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งใน 2Q/66 ซึ่งบริษัทสามารถทยอยส่งผ่านต้นทุนดอกเบี้ยให้กับกลุ่มลูกค้าได้เร็ว ทั้งในฝั่งของลูกค้า Conglomerate ที่ส่วนใหญ่เป็นสัญญาดอกเบี้ยลอยตัว และพอร์ตลูกหนี้รายย่อยมีสัดส่วนสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่มาก ทำให้คาดสามารถปรับขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ได้เร็วกว่าดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงขึ้น


จากการประเมินมูลค่าพื้นฐานด้วย Prospective P/BV โดยอิง Sustainable ROE ที่ 7.5 - 9.5% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของบริษัทที่ 8-10% เล็กน้อยเพราะเรา Conservative จากความเสี่ยงด้านปัจจัยการเมือง รวมถึงภาวะเศรษฐกิจที่อาจได้รับผลกระทบจากอัตราดอกเบี้ยในระดับสูง และอิง Cost of Equity ที่ 8.9% ได้มูลค่าพื้นฐานสิ้นปี 2566 ที่ 1.18 – 1.65 บาทต่อหุ้น (ค่ากลาง 1.41 บาทต่อหุ้น) คิดเป็น P/BV ที่ 0.64 – 0.90 เท่า ขณะที่ราคาปัจจุบันซื้อขายบน P/BV เพียง 0.60 เท่า ซึ่งยังต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มธนาคารขนาดกลาง – เล็กที่ราว 1 เท่า และยังต่ำกว่าต้นทุนของ CTBC ที่เข้ามาซื้อในปี 2564 ณ ราคา 1.80 บาทต่อหุ้น นอกจากนี้เราคาดว่าบริษัทจะจ่ายปันผลสำหรับผลประกอบการ 1H/66 ที่ราว 0.024 บาทต่อหุ้น คิดเป็น Dividend Yield ราว 2.1%


สุดท้ายนี้ ขอให้ทุกท่านโชคดีในการลงทุน พบกันใหม่สัปดาห์หน้า สวัสดีครับ


รู้ทันเกม รู้ก่อนใคร ติดตาม "ทันหุ้น" ได้ทุกช่องทางเหล่านี้

YOUTUBE คลิก https://www.youtube.com/c/ThunhoonOfficial

FACEBOOK คลิก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/

Tiktok คลิก https://www.tiktok.com/@thunhoon_

TELEGRAM คลิก https://t.me/thunhoon_news

Twitter คลิก https://twitter.com/thunhoon1

Instagram คลิก https://instagram.com/thunhoon.news?igshid=YTY2NzY3YTc=

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X