> SET > KKP

30 กรกฎาคม 2021 เวลา 19:03 น.

KKP สินเชื่อโตปรับเป้าใหม่ หนี้เสียเร่งตัวคุมเข้มต่ำ4%

ทันหุ้น - KKP ปรับเป้าพอร์ตสินเชื่อรวมทั้งปีโต 8-12% หลังครึ่งแรกของปีพอร์ตสินเชื่อโต 6.6% มุ่งเป้าสินเชื่อมีหลักประกัน สินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ จับตาสถานการณ์โควิด-19ใกล้ชิด มีแนวโน้มกดผลงานครึ่งปีหลังชะลอตัว มั่นใจคุม NPL ไม่เกิน 4% เผยเร่งช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม เช่นพักหนี้ ปรับโครงสร้างหนี้ ปัจจุบันพอร์ตลูกค้าส่วนนี้มีอยู่ราว 1 หมื่นล้าน และ


นายอภินันท์ เกลียวปฏินนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร หรือ KKP เปิดเผยว่าว่า บริษัทได้ปรับเป้าสินเชื่อรวมทั้งปี 2564 ขึ้นเป็น 8-12%จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ 5% หลังจากงวดครึ่งแรงของปี 2564 พอร์ตสินเชื่อสามารถขยายตัวได้ถึง 6.6%หนุนจาก 1.สินเชื่อมีหลักประกัน อาทิ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อที่อยู่อาศัย และสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจที่ไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 รวมถึงกลุ่มที่ขยายฐานการลงทุนออกไปต่างประเทศ


จับตาผลกระทบต่อเนื่อง

พร้อมกันนี้ กลุ่มKKPจะติดตามสถานการณ์โควิด-19 อย่างใกล้ชิด เนื่องจากหากสถานการณ์ยืดเยื้อถึงช่วงไตรมาส 4/2564 จะส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมอย่างน้อยถึงกลางปี 2565 ซึ่งคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องของผู้ประกอบการหลายกลุ่ม จนอาจนำไปสู่การเกิดภาวะ “โดมิโน่” ส่งผลต่อการจ้างงาน ความสามารถในการจับจ่ายใช้สอยของประชาชน ซึ่งจะกดดันให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) กลับมาเร่งตัวขึ้นอีกครั้ง


ทั้งนี้กลุ่ม KKPยังคงมีมาตรการช่วยลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 มาอย่างต่อเนื่องทั้งการปรับโครงสร้างหนี้ การให้ความช่วยเหลือตามมาตรการของธนาคารแห่งประเทศไทย รวมถึงการนำมาตรการพักชำระหนี้ที่เข้ามาช่วยลูกค้าทั้งการพักชำระเงินต้นและพักชำระดอกเบี้ย ส่งผลให้รายได้ที่มาจากดอกเบี้ยอาจจะลดลงไปได้บ้าง จากสัดส่วนของลูกค้าที่เข้ามาตรการพักชำระหนี้ชั่วคราวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในเดือนกรกฎาคม 2564 จึงคาดการณ์ว่า NPLในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 มีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นจากครึ่งปีแรกที่อยู่ในระดับ 3.4% โดยกลุ่ม KKPจะรักษาระดับ NPL ทั้งปี 2564 ไว้ไม่ให้เกิน 4%


สำหรับลูกหนี้กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว-โรงแรมมีวงเงินรวมทั้งสิ้นกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งกลุ่ม KKPสามารถเจรจาดำเนินการตามโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ (Asset Warehousing) สำเร็จ 10 กว่าราย คิดเป็นวงเงิน 1,500-2,000 ล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการเจรจาให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสมของ และความสามารถในการชำระหนี้คืนในอนาคตเป็นหลัก


ครึ่งหลังตั้งสำรองปกติ

ในส่วนของการตั้งสำรอง นายอภินันท์ กล่าวว่า ในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 ที่ผ่านมากลุ่มKKP ตั้งสำรองเผื่อความเสี่ยงล่วงหน้าไว้ถึง 6 เดือน ส่งผลให้ ณ ปัจจุบันกลุ่ม KKPมีปริมาณเงินสำรองสูงถึง 160% ดังนั้นการตั้งสำรองในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 จึงมีแนวโน้มที่จะคงการตั้งสำรองฯในระดับปกติ คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานโดยภาพรวมมากนัก


"ตั้งแต่ต้นเดือนก.ค.ที่ผ่านมาลูกติดต่อขอความช่วยเหลือเข้ามาเฉลี่ย 1 หมื่นรายต่อวันจากช่วงก่อนที่เฉลี่ยประมาณ 1 พันรายต่อวัน ไตรมาส 3/2564 นี้คงได้ผลกระทบจากโควิด-19 เต็มๆ ซึ่งตัวเลขผู้ติดเชื้อก็ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ทำให้มีมาตรการควบคุมที่เข้มงวดออกมา และกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวม รวมถึงธนาคารด้วย ซึ่งคาดว่าจะกระทบไปถึงในช่วงต้นไตรมาส 4/64 ทำให้ผลการดำเนินงานของเราก็อาจจะชะลอลงบ้าง เพราะส่วนหนึ่งเราก็ต้องมีการช่วยเหลือลูกค้า”


ส่วนธุรกิจวาณิชธนกิจ กลุ่ม KKP มีงานในมืออีกกว่า 20 ดีล อาทิ เป็นที่ปรึกษาเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนครั้งแรก (IPO), ดีลการเข้าซื้อกิจการ (M&A),และที่ปรึกษาการปรับโครงสร้างธุรกิจ ฯลฯ เป็นต้น ในส่วนของธุรกิจตลาดทุน มีผลประกอบการที่ดีในทุกกลุ่มธุรกิจ

]

ทั้งนี้ธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ ซึ่งยังคงครองส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับหนึ่งและได้รับผลดีจากปริมาณการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดที่เพิ่มขึ้น  ธุรกิจบริหารความมั่งคั่งและธุรกิจจัดการกองทุน ที่มีสินทรัพย์ภายใต้คำแนะนำหรือการจัดการเพิ่มขึ้น 13% และ 12% ตามลำดับ ธุรกิจวาณิชธนกิจ ที่มีรายได้จากค่าธรรมเนียมของการดำเนินการธุรกรรมขนาดใหญ่ในครึ่งปีแรกเสร็จสิ้น และธุรกิจการลงทุนโดยตรงที่มีรายได้เบ็ดเสร็จกว่า 1,103 ล้านบาท

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X