> SET > ZEN

29 มีนาคม 2021 เวลา 13:53 น.

จับตา ZEN กลับสู่ทิศทางขาขึ้น Q2-Q4/64

ทันหุ้น - บล.ไทยพาณิชย์ (SCBS) สแกน ZEN เริ่มต้นการวิเคราะห์ด้วยเรทติ้ง OUTPERFORM โดยมีราคาเป้าหมายสิ้นปี 2565 อยู่ที่ 16 บาท/หุ้น มีมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มผลประกอบการที่คาดว่าจะฟื้นตัวในปี 2564 สู่ระดับก่อนโควิด-19 ระบาด โดยได้รับการสนับสนุนจาก SSS ที่เติบโต 20% และอัตรากำไรที่เพิ่มขึ้นจากความพยายามในการปรับโครงสร้างต้นทุนให้ลดลงและเร่งเพิ่มรายได้จากการธุรกิจแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นธุรกิจที่ให้อัตรากำไรสูง ปัจจุบันหุ้น ZEN ซื้อขายต่ำกว่าระดับก่อนโควิด-19 ระบาดอยู่ 11% และ valuation อยู่ที่ PE ปี 2565 ระดับ 24 เท่า หรือคิดเป็นอัตราส่วน PE ต่ออัตราการเติบโตของกำไรที่ 0.6 เท่า


ผลประกอบการจะฟื้นตัวในปี 2564 หลังจากขาดทุน 58 ลบ. ในปี 2563 เพราะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ฝ่ายวิจัยคาดว่า ZEN จะพลิกกลับมามีกำไรปกติ 117 ลบ. ในปี 2564 กลับคืนสู่ระดับก่อนโควิด-19 ระบาด (ปี 2562) โดยได้รับการสนับสนุนจากภาพรวมที่เป็นบวกของเศรษฐกิจและการใช้จ่ายอุปโภคบริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลซึ่งจะช่วยหนุนให้รายได้เติบโต และความพยายามในการปรับโครงสร้างต้นทุนให้ลดลงและเร่งเพิ่มรายได้จากการธุรกิจแฟรนไชส์ที่ให้อัตรากำไรสูงซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้อัตรากำไรขยายตัว และเพิ่มแรงขับเคลื่อนให้กำไรเติบโตได้อย่างมีนัยสำคัญ แม้ว่าผลประกอบการของ ZEN จะชะลอตัวใน Q1/64 โดยมีสาเหตุมาจากการระบาดรอบใหม่ของโควิด-19 ในประเทศไทย แต่คาดว่าผลประกอบการจะกลับคืนสู่ทิศทางขาขึ้นใน Q2-Q4/64


คาด SSS เติบโตก้าวกระโดด 20% ZEN รายงาน SSS หดตัวลง 30.4% ในปี 2563 โดยเริ่มปรับตัวลดลงตั้งแต่เดือนมี.ค. และหดตัวมากที่สุดที่ 58.3% ใน Q2/63 ซึ่งเป็นช่วงที่ร้านอาหารแบบนั่งทานที่ร้านปิดให้บริการ จากมาตรการของรัฐบาลในการพยายามควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 หลังจากฟื้นตัวได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2563 การระบาดรอบใหม่ของโควิด-19 ก็ส่งผลกระทบต่อ SSS อีกครั้งในเดือนม.ค. 2564 อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ปรับตัวดีขึ้นในเดือนก.พ. หลังจากรัฐบาลผ่อนคลายข้อกำหนดต่างๆ และดูดีขึ้นมากในเดือนมี.ค. จากฐานต่ำของปีก่อนและกระแสตอบรับที่ดีต่อแคมเปญบุฟเฟ่ต์ของ ZEN Restaurant เราคาดว่า SSS จะเติบโตก้าวกระโดดที่ 20% ในปี 2564 โดยจะหดตัวลงใน Q1/64 ก่อนที่จะกลับมามีอัตราการเติบโตเป็นบวกใน Q2-Q4/64 จากฐานต่ำของปีก่อน


EBIT margin ขยายตัว คาดว่า EBIT margin จะขยายตัวสู่ 6.2% ในปี 2564 จาก -2.2% ในปี 2563 และสูงกว่าระดับ 4.2% ในปี 2562 โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงสร้างต้นทุนที่ลดลง โดย ZEN ได้มุ่งเน้นเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมค่าเช่าและค่าใช้จ่ายพนักงานมาตั้งแต่ไตรมาสที่ย่ำแย่ใน Q2/63 และเร่งเพิ่มรายได้จากธุรกิจแฟรนไชส์ที่ให้อัตรากำไรสูง คาดว่า ZEN จะเปิดสาขาแฟรนไชส์เพิ่ม 75 สาขาต่อปี ในปี 2564-65 โดยแบรนด์ เขียง (ร้านอาหารไทยจานด่วนแนวสตรีทฟู้ด) จะคิดเป็นสัดส่วน 80% ของสาขาแฟรนไชส์ใหม่ ซึ่งจะหนุนให้รายได้จากธุรกิจแฟรนไชส์เพิ่มขึ้นสู่ระดับที่คิดเป็นสัดส่วน 12% ของรายได้รวมของ ZEN ในปี 2564-65 เมื่อใช้สมมติฐาน EBIT margin จากรายได้ค่าแฟรนไชส์ที่ 60% ธุรกิจแฟรนไชส์จะคิดเป็นสัดส่วน 38% ของ EBIT ของ ZEN ในปี 2564-65


ปัจจัยเสี่ยงต่อประมาณการกำไร ความล่าช้าในการขยายสาขาแฟรนไชส์จะส่งผลทำให้ประมาณการกำไรของเรามี downside ในแง่ของรายได้ค่าแฟรนไชส์ที่ต่ำกว่าคาด การวิเคราะห์ความอ่อนไหวของกำไรบ่งชี้ว่าจำนวนสาขาแฟรนไชส์ที่ต่ำกว่าแผนที่วางไว้ 10 สาขา (จากสมมติฐานที่ 75 สาขา) จะส่งผลกระทบ 4% ต่อประมาณการกำไรปี 2564 ของเรา ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ คือ เหตุการณ์ไม่คาดคิดที่จะส่งผลกระทบด้านลบต่อการดำเนินงานของ ZEN ความชื่นชอบที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ความผันผวนของราคาวัตถุดิบ และการต่อสัญญาเช่า

อยากลงทุนสำเร็จ เป็นเพื่อนกับเรา พร้อมรับข่าวสารได้ทุกช่องทางที่
APP ทันหุ้น ANDROID คลิก
https://qrgo.page.link/US6SA
APP ทันหุ้น IOS คลิก
https://qrgo.page.link/QJKT7
LINE@ คลิก
https://lin.ee/uFms4n5
FACEBOOK คลิก
https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
YOUTUBE คลิก
https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA
TELEGRAM คลิก
https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิก
https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X