> เคล็ดลับลงทุน >

25 กุมภาพันธ์ 2021 เวลา 06:20 น.

เมื่อผู้กำกับนโยบายคำรามว่า “จะเอา”

“I really do not expect that we’ll be in a situation where inflation rise to troubling levels”


ประโยคคพูดข้างต้น คือหนึ่งในการตอบคำถามของประธาน Fed เจโรม พาวเวล ต่อคณะกรรมาธิการบริการการเงินประจำสภาคองเกรส


การที่ เจโรม พาวเวล ยืนยันว่ายังไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นจนถึงระดับที่น่าหนักใจนั้น เป็นการตอกย้ำไปในทางเดียวกับบรรดากรรมการ Fed คนอื่นๆที่ออกมาสื่อสารกับตลาดในชวงก่อนหน้าว่าเงินเฟ้อสูงเป็นแค่เรื่องชั่วคราว


ตลาดมีปฎิกิริยาตอบรับทันที 10Y Breakeven Inflation เริ่มอ่อนตัว อัตราดอกเบี้ยระยะยาวเริ่มทรงตัว US 10Y Bond Yiled อยู่ที่ 1.35% เช่นเดียวกับตัว 30 ปี ค้างที่ระดับ 2.216% และ Real Yield ระยะยาว 10 ปี ก็แช่นิ่งอยู่ที่ -0.79% เช่นกัน


ความกังวลต่อสภาวะเงินเฟ้อเริ่มคลี่คลาดลง 10Y Breakeven Inflation เริ่มหักหัว ลงต่ำกว่าระดับ 2% ดูเหมือนว่าจะเป็นตามวัตถุประสงค์ของ Fed ที่ต้องการลดความร้อนของเงินเฟ้อ เพื่อที่จะนำมาอ้างเป็นเหตุผลให้ใช้ QE รวมไปถึงกดดอกเบี้ยต่ำต่อไปได้


เมื่อเจ้าพ่อ Fed ไม่กลัวเรื่องเงินเฟ้อ แถมยังบอกว่าเศรษฐกิจยังห่างไกลจากเป้าหมายที่ต้องการจะเห็น และไม่ควรประมาทว่าเศรษฐกิจจะดีหลังมีวัคซีน ทำให้บรรดาเทรดเดอร์และนักลงทุนมองว่านี่คือการเปิดสัญญาณของ Fed ว่า”No Rate Hike, No Taper” หรือไม่มีการขึ้นดอกเบี้ย และไม่มีการเลิก QE


กระแสความกลัวฟองสบู่สินทรัพย์ อันเป็นผลจากความกังวลเรื่องเงินเฟ้อและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรในช่วงก่อนหน้า กำลังจะซาลงไป ตลาดกลับมามั่นใจอีกครั้งจากการส่งเสียงคำรามของเจ้าพ่อ Fed ตลาดหุ้นสหรัฐพลิกฟื้น Dow Jones และ S&P500 พลิกจากลบมาเป็นบวก ส่วน Nasdaq ลดช่วงลบจากการไล่กลับของกลุ่มหุ้น Tech Stock อย่างไรก็ตามกระแสการสลับกลุ่มลงทุนยังคงมีอยู่ จะเห็นได้จาก Active ETFs ยังคงดิ่งลงกันระนาว และตลาดเอเชียถูกเทขายแบบกระหน่ำ North Asia ลบกันเละเทะ -1.5% ถึง -3% แต่ตลาด Asia Emerging market


แม้ตลาดจะรับรู้และเก็งกำไรเรื่องเงินเฟ้อไปกันพอสมควรแล้ว แต่ไม่ใช่สำหรับตลาดยุโรป เมื่อ 10Y Breakeven Inflation ของเยอรมันยังคงต่ำกว่าของสหรัฐแบบสุดกู่ ซึ่งอาจเป็นผลจากปัจจัยด้านประชากรและปัญหาทางการเมือง


เงินเฟ้ออาจดูชะลอ แต่มันจะแค่ชั่วคราวสถานการณ์มันชัดแล้วว่าโลกได้พ้นจากสภาวะเงินฝืด และในในทุกๆรอบหลังการพนสภาวะเงินฝืดคือการเข้าสู่ยุคของเงินเฟ้อเร่งตัว ซึ่งในช่วงต้นของสภาวะเงินเฟ้อเร่งตัว จะเป็นช่วงที่สนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจไปในตัวด้วย สภาวะนี้จะเป็นบวกต่อสินทรัพย์เสี่ยงเป็นอย่างมาก


ในกรณีที่เงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นในกรอบ 1-3% และ GDP Growth มากกว่า 3% ถือเป็นกรณีที่ดีที่สุดต่อสินทรัพย์เสี่ยงต่างๆ โดยเฉพาะน้ำมันจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อเดือนในช่วงเงินเฟ้อเร่งตัวถึง 1.6% รองลงมาเป็น MSCI Emerging Market 1.3% ส่วน S&P500 Index ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อเดือนราว 0.8%


กระนั้นหากเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นไปเกิน 3% จะกลายเป็นอุปสรรคที่ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก และแน่นอนว่าจะส่งทางลบต่อสินทรัพย์เสี่ยงให้ผลตอบแทนที่ต่ำลง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังไว้เป็นอย่างสูง


นอกจาก Fed จะประกาศกร้าวแล้วว่า ไม่ลด ไม่เลิก ปัจจัยที่น่าจับตาต่อจากนี้คือการดำเนินนโยบายการคลังของรัฐบาลสหรัฐในยุค รมต.คลังที่ชื่อว่า เจเน็ต เยลเลน ล่าสุดเธอได้ให้สัมภาษณ์ต่อ CNBC ว่า “It’s very important to have a big package that addresses the pain this has caused,” “The price of doing too little is much large than the price of doing somesthing big”


ชัดเจนเลยว่า เจเน็ต เยลเลน เธอก็ “จะเอา” อัดฉีดเข้าไปให้เยอะๆไว้ก่อน ยังไงๆก็ดีกว่าทำน้อยหรือไม่ทำเลย การเอาจริงเอาจังของทั้ง เจเนฌต เยลเลน และ เจโรม พาวเวล เป็นสิ่งที่นักลงทุนสามัญชนทั่วไปไม่ควรไปหืออือ ขึ้นเสียงหรือเถียงผู้กำกับนโยบายหลักของโลก สินทรัพย์เสี่ยงยังคงมีแนวโน้มถูกปั่นพร้อมๆกับ Story ที่จะเข้ามาต่อเนื่อง


สิ่งที่ต้องติดตามนับจากนี้คือการผลักดันร่างกฎหมายงบกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 5 ของโจไบเดน ขนาดกว่า 1.9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งตลาดเชื่อไปกว่าครึ่งแล้วว่ามีโอกาสสูงที่สภาคองเกรสจะผ่านร่างกฎหมายนี้


ตลาดไม่น่าจะต้องรอนานในดูว่าสภาคองเกรสจะผ่านร่างกฎหมายนี้ได้จริงหรือไม่ ภายในกลาง มี.ค. นี้ก็จะได้เห็นแล้วการดำเนินเกมในสภาคองเกรสของ ปธน.โจ ไบเดน จะเป็นอย่างไร  ก่อนจะไปถึงวันนั้นตลาดก็จะบันเทิงไปกับความคาดหวังอย่างต่อเนื่อง

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X