> SET > OR

01 กุมภาพันธ์ 2021 เวลา 08:30 น.

ผ่าORขวัญใจรายย่อย วันเทรดไร้กรีนชูพยุง

ทันหุ้น- วิพากษ์ประเด็นร้อน OR หลังเพิ่มหุ้นรายย่อยหนักจาก 959.70 ล้านหุ้น เป็น 1,036 ล้านหุ้น เอาหุ้นจากกองทุนต่างชาติ 51 ล้านหุ้นและกรีนชู 390 ล้านหุ้นมาเพิ่มให้ “ดร.นิเวศน์” ชี้กองทุนอาจสนใจหุ้นอนาคตมากกว่า OR ที่เป็นหุ้นปัจจุบัน แต่ลงทุนได้ราคาไม่แพง โอกาสต่ำจองน้อย แม้ไร้กรีนชูพยุง ขณะที่โบรกชี้จุดด้อนรายย่อยเอยะ ห่วงแห่เทขาย


กลายเป็นทอร์คออฟเดอะทาวน์ กับ กรณี บริษัท ปตท. นํ้ามัน และการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ที่ปรับแผนกระจายหุ้นให้กับรายย่อยมากขึ้น จากที่กระจายให้รายย่อย 595.70 ล้านหุ้น เพิ่มมาเป็น 1,036.94 ล้านหุ้น ซึ่งเพิ่มขึ้นมารวมกว่า 441 ล้านหุ้น โดยนำหุ้นจาก 4 กองทุนต่างประเทศจำนวน 51.24 ล้านหุ้นมาขายให้กับรายย่อย พร้อมกับนำหุ้นส่วนเกิน หรือ กรีนชู จำนวน 390 ล้านหุ้น มาขายให้กับรายย่อย ซึ่งปกติแล้ว กรีนชู คือจำนวนหุ้นจะที่ใช้เพื่อรักษาระดับของราคาหลักทรัพย์หลังเข้าซื้อขายในตลาดระยะแรก


การดำเนินการดังกล่าวส่วนหนึ่งเพื่อตอบรับกับดีมานด์รายย่อยไทยการจองที่สูงเป็นระวัติศาสตร์ในระดับหลายแสนราย แต่ในอีกมุมหนึ่งกลับมีนักลงทุนเกิดความกังวลว่าจำนวนหุ้นที่กระจายให้กับรายย่อยนั้นมีมากเกินไป ซึ่งจากการกระจายหุ้นทั้งหมด 3,000 ล้านหุ้น เป็นสัดส่วนรายย่อยที่สูงถึง 1,036.94 ล้านหุ้น ใกล้เคียงกับนักลงทุนสถาบันไทยสัดส่วนหุ้น 1,264.30 ล้านหุ้น


ขณะที่สัดส่วนของต่างชาติเดิมให้ไว้ 450 ล้านหุ้น จากการที่ 4 กองทุนไมได้ซื้อ ทำให้สัดส่วนหุ้นต่างชาติเหลือเพียง 398.75 ล้านหุ้น โดยนักลงทุนยังตั้งข้อสังเกตุว่า เหตุใด 4 กองทุนต่างประเทศถึงปฏิเสธการซื้อหุ้นที่คนไทยสนใจจองอย่างล้มหลาม ขณะเดียวกันยังมีความเป็นห่วงตัวช่วยกรณีหุ้นต่ำจองหลังเข้าตลาดอย่างกรีนชูก็ไม่มีเพราะถูกกระจายให้รายย่อยหมดแล้ว


@ เหตุต่างชาติซื้อไม่หมด


ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนคุณค่า หรือ VI เปิดเผยกับ ทันหุ้น ว่า เป็นเรื่องปกติ หากกองทุนต่างชาติไม่ซื้อหุ้น OR ก็ต้องกระจายมาสู่รายย่อย เพราะผู้รับประกันจำหน่ายไม่ต้องการเก็บหุ้นไว้กับตัวอยู่แล้ว และคาดว่าจะเป็นเจตนาของกลุ่ม ปตท. ที่ต้องการกระจายให้กับรายย่อยเพราะคนไทยสนใจมาก ซึ่งกรณีต่างชาติไม่เอานั้นอาจจะเป็นเพราะว่าต่างชาติอาจจะต้องการลงทุนหุ้นแห่งอนาคต ประกอบกับจังหวะที่ตลาดหุ้นโลกปรับตัวลงแรง ทำให้นักลงทุนเปลี่ยนใจ ดังนั้นเมื่อ 4 กองทุนต่างชาติไม่สนใจก็ต้องขยให้กับคนที่สนใจ


ส่วนกรณีนำหุ้นจากกรีนชูมาขายให้กับรายย่อยนั้น เป็นประเด็นที่น่าคิด เพราะปกติกรีนชูจะมีไว้เพื่อพยุงหุ้นไม่ให้ต่ำจากราคาจอง แต่เชื่อว่าในกลุ่มอาจจะมองว่าไม่จำเป็น จึงนำมาให้นักลงทุนมากกว่า


โดยสรุปมองว่า การปรับสัดส่วนหุ้นมาสู่รายย่อยเป็นจำนวนมากนั้น จะไม่ได้ส่งผลกระทบมากนั้น เนื่องจาก OR นับเป็นหุ้นที่พอใช้ได้ ไม่ได้มีปัญหา เมื่อเทียบกับหุ้นอีกหลายตัว และ ธุรกิจที่ดำเนินการอย่างน้ำมันและค้าปลีก ก็ยังเป็น ธุรกิจโลกปัจจุบัน แม้ไม่ได้เป็นธุรกิจแห่งอนาคต แต่ก็ไม่ได้เป็นธุรกิจโลกเก่า โดยน้ำมันยังสามารถที่จะอยุ่ได้มากกว่าสิบปี ขณะที่ธุรกิจอย่างร้านกาแฟ อเมซอน นั้นก็ยังเป็นธุรกิจปัจจุบัน ซึ่งหากจะประเมินธุรกิจในอนาคตขนาดใหญ่ของไทย ไม่ค่อยมี ดังนั้น OR ก็นับเป็นตัวเลือกที่ดี ในด้านของความแข็งแกร่ง มีกำไร และพีอีไม่แพง


ส่วนกรณีที่มีรายย่อยได้หุ้นเยอะขึ้นนั้น หากพิจารณาสัดส่วน จะพบว่า มีจำนวนที่กลุ่มใกล้เคียงสถาบัน โดยสถาบันยังถือหุ้นสูง ภาพไม่เปลี่ยนอะไร โดยรายย่อยก็มีมีนักลงทุนทุกรูปแบบ ทั้งระยะยาว ระยะสั้น เก็งกำไร ซึ่งก็ถือว่าเป็นการกระจายหุ้น แต่ยอมรับว่าหุ้น OR เปิดมาก็ไม่สามารถที่จะได้กำไรเยอะเป็นหลายสิบเปอร์เซนต์ ส่วนโอกาสจะต่ำจองมองว่าน้อย หากต่ำจองก็ไม่ต้องรีบขาย เชื่อว่ารายย่อยจะไม่ขาย ด้วยคุณภาพและราคาที่ไม่แพง แต่ถ้าหุ้น OR ขึ้นมาแรง ก็อาจจะเผชิญกับแรงเทขายจากกองทุนได้


@ห่วงรายย่อยขาย


นายกิจพณ ไพรไพศาลกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์และนักกลยุทธ์ บริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน (ประเทศไทย) ระบุว่า การที่ OR จัดสรรหุ้นจากสถาบันเป็นรายย่อยมีทั้งข้อดีและไม่ดี ข้อดีสามารถกระจายให้กับนักลงทุนมากขึ้น แต่ข้อเสียของการจัดสรรหุ้นจองในอดีตที่มีรายย่อยมากมากเกินจะเกิดความผันผวน เพราะรายย่อยส่วนใหญ่ไม่ได้ลงทุนยาว เหมือนสถาบัน พอมีกำไรก็จะขายออก ซึ่งการที่นักลงทุนรายย่อยเข้ามาเกิน 2 แสนคน อาจจะไม่ค่อยมีเอกภาพ และมีความเป็นไปได้ที่จะเผชิญแรงเทขายจากรายย่อยก่อน

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X