> KS Whole in one >

01 มีนาคม 2021 เวลา 06:30 น.

การส่งมอบวัคซีนอาจล่าช้ากว่าคาด สศค.ปรับประมาณการ GDP ไทยลงเป็น 2.8%

- วันจันทร์ติดตาม ดัชนี PMI ภาคการผลิตของจีนจากสถาบัน Caixin (ม.ค.)ตลาดคาด 52.7, ดัชนี PMI ภาคการผลิตจากสถาบันไอเอสเอ็ม (ISM) (ม.ค.)สหรัฐ ตลาดคาด60.0, ดัชนีราคาภาคการผลิตจากสถาบันไอเอสเอ็ม (ISM) (ม.ค.)สหรัฐ ตลาดคาด 65.7


- วันอังคารติดตาม ดัชนีจีดีพี (GDP) ของอิตาลี (ไตรมาสต่อไตรมาส) (ไตรมาส 4) อิตาลี ตลาดคาด 11.2%


- วันพุธติดตาม ดัชนี PMI ภาคการบริการของจีนจากสถาบัน Caixin (ม.ค.), การเปลี่ยนแปลงในการจ้างงานภาคนอกภาคเกษตรกรรมจากเอดีพี (ADP) (ม.ค.)สหรัฐ ตลาดคาด 49K, กิจกรรมทางธุรกิจนอกภาคการผลิตจากสถาบัน ISM (ม.ค.)สหรัฐ ตลาดคาด 55.0


- วันพฤหัสติดตาม ผลิตภาพนอกภาคการเกษตร (Nonfarm Productivity) (ไตรมาสต่อไตรมาส) (ไตรมาส 4) สหรัฐ ตลาดคาด-1.8%


- วันศุกร์ติดตาม อัตราการว่างงาน (ม.ค.)สหรัฐ ตลาดคาด 6.7%


สำหรับปัจจัยต่างประเทศ สหรัฐฯ รายงานตัวเลขผู้ยื่นขอสวัสดิการว่างงานครั้งแรกที่ดีกว่าคาด โดยลดลง 67,000 ราย อยู่ที่ระดับ 8.47 แสนรายในสัปดาห์ที่แล้ว จากระดับที่เหนือกว่า 9 แสนรายในหลายสัปดาห์ก่อนหน้านี้ ขณะที่ GDP ไตรมาส 4/2563ขยายตัวที่ 4.0% ต่ำกว่าคาดที่ 4.3% โดยหดตัว 3.5% ในปี 2563 ซึ่งถือเป็นการหดตัวมากที่สุดในรอบ 70 ปี ทั้งนี้ การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาส 4/2563 ได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของการส่งออก หลังจากมีการแจกจ่ายและฉีดวัคซีนให้กับประชาชนในกลางเดือนธ.ค. 2563 


ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง กดดันการเติบโตของภาคบริโภค สำหรับแนวโน้มปี 2564 เราคาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯจะฟื้นตัวขึ้น จากการแจกจ่ายวัคซีนที่ทั่วถึงครอบคลุมประชากรหลายร้อยล้านคนทั่วประเทศ รวมถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ภายใต้การนำของไบเดน อย่างการจ่ายเช็คเงินสดให้กับชาวอเมริกัน ถึงแม้ว่ายังมีความเสี่ยงจากความขัดแย้งในสภาคองเกรสเกี่ยวกับวงเงินของแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านเหรียญ และการส่งมอบวัคซีนซึ่งอาจล่าช้ากว่าที่คาด 


โดยเมื่อวานที่ผ่านมาองค์การอาหารและยาสหภาพยุโรปได้ออกมาแสดงความไม่พอใจ ภายหลัง AstraZeneca ได้ออกมาระบุถึงการส่งมอบวัคซีน COVID-19 ที่ต่ำกว่าเป้าเหลือเพียง 31 ล้านโดส จากระดับเดิมที่ 80 ล้านโดส (ยุโรปมีประชากรประมาณ 450 ล้านคน) คาดว่าเป็นผลมาจากกระบวนการผลิตและส่งมอบที่ผิดไปจากเป้าที่ตั้งไว้เดิมใน 1Q21 ซึ่งปัจจุบันนอกเหนือจาก AstraZeneca ยุโรปได้ลงนามสั่งซื้อวัคซีนกับอีก 6 แห่ง อย่างไรก็ตามองค์การอาหารและยาได้อนุมัติให้ใช้ได้เพียงแค่ Pfizer และ Modernaฉะนั้นในระหว่างนี้เราแนะติดตามพัฒนาการประเด็นดังกล่าวอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากเกิดขึ้นกับประเทศสหรัฐรวมถึงประเทศอื่นๆในแถบเอเชีย ไม่ว่าจะเป็นผลจากการผลิตหรือการส่งมอบ อาจเป็นปัจจัยทำให้ตลาดหุ้นเข้าสู่ภาวะ Risk off หนุนให้ดอลลาร์กลับมาแข็งค่าได้ในระยะสั้น


อย่างไรก็ดี กระทรวงการคลังหรือ สศค. ได้มีการปรับตัวเลขประมาณการ GDP ของไทยปี 2563 และ 2564 เป็น -6.5% YoY และ +2.8% YoY (เทียบกับศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่ -6.7% และ +2.6% ตามลำดับ) ในส่วนของปี 2563 สศค. ปรับตัวเลขดีขึ้นจาก -7.7%เป็น -6.5%จาก 2 ประเด็นหลักๆ นั่นคือ การควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ดีของไทยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมไปถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งจากพรก.โควิด-19, การพักชำระหนี้ และการลดดอกเบี้ยของธปท. 


สำหรับปีนี้ สศค. ปรับลดประมาณการ GDP ไทยว่าจะเติบโตที่ 2.8% โดยคาดการฟื้นตัวจะเป็นอย่างค่อยเป็นไป ขึ้นอยู่กับ 3ปัจจัยหลักๆ คือ 1. การควบคุมการระบาดระลอก 2 ในประเทศ 2. ความสำเร็จในการฉีดวัคซีนของประเทศต่างๆ (ส่งผลต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในไทย) และ 3. นโยบายเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักๆ โดยเราเชื่อว่า การแจกจ่าย/ฉีดวัคซีนของไทยและต่างประเทศจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ รวมไปถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างการบริโภคภาคเอกชน ทั้ง “เราชนะ” , “คนละครึ่ง” รวมถึงมาตรการใหม่ๆ ที่คาดกว่าจะออกมาเพิ่มเติมจากงบประมาณพรก.โควิด-19ที่เหลืออยู่


มุมมองตลาดหุ้น ในส่วนของตลาดหุ้นไทย เราประเมินว่า SET จะยังคงแกว่งในกรอบ –1SD ถึง -1.25SD ของ Earning Yield Gap (%) ย้อนหลัง 10ปี ที่ 1,480-1,550 จุด ซึ่งประเมินว่าหุ้นใหญ่ใน SET50 อทิกลุ่มพลังงาน,ค้าปลีก และ ICT จะพักฐานเพื่อรอดูผลประกอบการรายปีและทิศทางธุรกิจในปีนี้จากทางผู้บริหาร ซึ่งปัจจุบันหากเราอิงจาก Bloomberg Consensus, ทีมวิเคราะห์หลักทรัพย์กสิกรไทยและศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่า กำไรตลาดหลักทรัพย์ (SET-EPS) จะกลับไปสู่ระดับก่อนเกิด COVID-19 ในปี 2022 ในขณะที่เศรษฐกิจไทยจะใช้เวลามากกว่ากำไรตลาดหุ้นประมาณ 1 ปี และหากเราประเมินหลายอุตสาหกรรมพบว่ามีเพียง 2 กลุ่มที่ในปีที่ผ่านมาที่กำไรเติบโต คือ อิเล็กทรอนิกส์และเกษตร ซึ่งเป็นผลมาจากการส่งออกสินค้าที่ได้ประโยชน์จากการ Work From Home รวมถึงราคายางและถุงมือยางที่ปรับตัวขึ้น 


ขณะที่ปีนี้มี 3 กลุ่มที่กำไรจะเติบโตเทียบเท่าระดับก่อนเกิด COVID-19 นำโดยกลุ่มการเงิน (KS ประเมินกำไรเติบโต 14%), กลุ่มรถยนต์ และกลุ่มปิโตรเคมี (พลิกจากขาดทุน) ในขณะที่กลุ่มค้าปลีก, ก่อสร้าง, พลังงาน จะใช้เวลามากกว่า 1ปี และกลุ่มที่กำไรเติบโตช้าสุดหรือใช้เวลามากกว่า 2ปีก่อนที่กำไรจะกลับเข้าสู่ช่วงปกติคือ กลุ่มธนาคาร, โรงพยาบาล, อสังหา และท่องเที่ยว โดยในช่วงที่ SET แกว่งในกรอบเพื่อรอดูการปรับประมาณการครั้งนี้ เราแนะนักลงทุนถือหุ้นใหญ่กลุ่มธนาคาร และหันมาเก็งกำไรหุ้นขนาดกลางที่มีกำไรเติบโตเด่นและมีปัจจัยบวกเฉพาะตัวอย่าง CBG, RBF, CHG, KCE, MTC และ MEGA ซึ่งวันนี้เรามีการปรับเพิ่มราคาเหมาะสม (ติดตามอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ในบทวิเคราะห์ฉบับพื้นฐาน) คาด SET ยังคงแกว่งในกรอบแคบ 1,445-85จุด+/-


MTC พื้นฐาน 79 บาท

AMATA พื้นฐาน 21.6 บาท

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X