> อาหารสมอง >

17 มกราคม 2021 เวลา 00:00 น.

เป็นหนี้บัตรเครดิต แก้ไขอย่างไร

หากดูจำนวนบัตรเครดิตรวมทั้งหมดในประเทศไทย ปัจจุบันพบว่ามีอยู่ประมาณ 20 ล้านใบ โดยมีบัตรที่เคลื่อนไหวประจำประมาณ 14 ล้านใบ และในจำนวนหนี้มีบัญชีที่มีปัญหาหรือค้างชำระประมาณ 1 ล้านใบ ที่น่าตกใจกว่านี้ คือ มียอดค้างชำระตั้งแต่ 30 วันขึ้นไป เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ที่มา : บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด)


ปฏิเสธไม่ได้ว่า “บัตรเครดิต” คือสิ่งแรกๆ ที่หลายคนอยากเป็นเจ้าของหลังจากมีงานมีเงินเดือน เพราะบัตรเครดิตช่วยให้เกิดความสะดวกสบายในการใช้จ่าย ซึ่งถือว่าไม่ผิดหากใช้แล้วไม่ทำให้ตัวเองเดือดร้อน


อย่างไรก็ตาม มีผู้ถือบัตรหลายคนอาจเผลอใช้จ่ายเกินตัว ทำให้เกิดภาระหนี้สินและอาจถึงขั้นรับผิดชอบไม่ไหว สังเกตได้จากตัวเลขบัตรเครดิตที่มีปัญหาหรือค้างชำระ สะท้อนให้เห็นว่าผู้ที่เป็นหนี้บัตรเครดิตเริ่มมีหนี้เร็ว นานและมากขึ้น ลองมาดูสาเหตุหลัก ที่ทำให้เป็นหนี้บัตรเครดิต


1.มีหลายใบ

ลองเปิดดูกระเป๋าเงินของตัวเอง แล้วนับบัตรเครดิตว่ามีทั้งหมดกี่ใบ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่มีปัญหาหรือค้างชำระหนี้มักจะมีบัตรหลายใบ ยิ่งมีบัตรมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสใช้มากขึ้นเท่านั้น พูดง่ายๆ มีบัตรหลายใบจะมีวงเงินให้ใช้จ่ายสูงเกินความสามารถในการชำระเงิน


2.ใช้ไปเรื่อยๆ

สังเกตได้ว่าผู้ที่มีปัญหาหนี้สินบัตรเครดิตมักมีพฤติกรรมชอบใช้จ่ายผ่านบัตร ไม่ว่าจะซื้อของเล็กๆ น้อยๆ ไม่กี่บาท ไปจนถึงซื้อสินค้าในราคาหลายแสนบาทก็รูดบัตรเครดิต และเมื่อถึงเวลาชำระคืนก็ใช้วิธีผ่อนจ่ายขั้นต่ำ


3.เบิกถอนเงินสด

บัตรเครดิตเป็นสินเชื่อประเภทหนึ่ง หลายคนจึงใช้เป็นตัวช่วยในช่วงที่เงินขาดมือ บางคนถึงขั้นเบิกถอนเงินสดล่วงหน้าจากบัตรเครดิตมาใช้จ่าย และชำระหนี้แบบยอดขั้นต่ำ ทำให้รับภาระดอกเบี้ยในระดับสูง


4.ชำระหนี้บัตรเป็นลำดับสุดท้าย

เมื่อหนี้บัตรเครดิตสามารถชำระตามยอดขั้นต่ำได้ ทำให้หลายคนมักชำระหนี้เรื่องอื่นๆ ก่อน ส่วนหนี้บัตรเครดิตจะจ่ายเป็นลำดับสุดท้าย ส่งผลให้ผู้ถือบัตรต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่ออื่นๆ อย่างไรก็ตาม เมื่อหนี้จากบัตรเครดิตเริ่มสร้างปัญหาให้กับชีวิตจึงต้องหาทางออกโดยด่วน นี่คือตัวอย่างวิธีการแก้ปัญหา


1.หยุดใช้บัตรเครดิต

เมื่อเริ่มรู้ตัวว่าที่ผ่านมาปัญหาหนี้สินเกิดจากการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต วิธีแก้ไขที่ได้ผลที่สุด ก็คือ ยอมรับสภาพตัวเองแล้วก็หยุดใช้บัตรเครดิต จากนั้นหันมาใช้จ่ายด้วยเงินสดแทนและวางแผนจัดการแก้ปัญหาหนี้สินให้หมดโดยเร็ว


2.ทยอยจ่ายหนี้ให้เร็วที่สุด

บัตรเครดิตมีอัตราดอกเบี้ยสูงสุดถึง 20% ต่อปี ที่สำคัญหากไม่จ่ายค่าบัตรเครดิตภายในวันที่กำหนดจะถูกคิดดอกเบี้ยจากวันที่รูดบัตรทันที โดยคิดดอกเบี้ยเป็นรายวัน ดังนั้น หากเลือกชำระแบบขั้นต่ำ 10% จะมีปัญหาเรื่องภาระดอกเบี้ยที่งอกเงยไปเรื่อยๆ เพราะสถาบันการเงินจะคิดดอกเบี้ย 2 ขั้น


ขั้นแรก คิดดอกเบี้ยจากรายการที่เกิดขึ้นทั้งหมด ขั้นที่สอง คิดจากเงินคงเหลือหลังจากที่จ่ายขั้นต้นไปแล้ว 


ดังนั้น เมื่อหยุดใช้บัตรเครดิตแล้วก็ต้องเร่งจ่ายหนี้บัตรเครดิตที่ยังค้างอยู่ให้หมดโดยเร็วที่สุด นั่นคือ จ่ายหนี้ให้ได้มากกว่าขั้นต่ำที่สถาบันการเงินกำหนด เช่น จากเดิมจ่ายหนี้ได้ขั้นต่ำ 10% ให้เพิ่มเป็นจ่ายหนี้ 20% เพื่อลดต้น ลดดอก


3. ปรึกษากับเจ้าหนี้

เมื่อทำการแก้ไขทุกอย่างแล้วแต่ก็ยังเกินกำลังและไม่รู้ว่าจะใช้หนี้หมดหรือไม่ ทางออกก็คือ คุยกับเจ้าหนี้เพื่อหาทางประนอมหนี้ว่าจะจ่ายหนี้อย่างไร จ่ายวิธีไหนดีที่สุด ไม่ควรปล่อยปะละเลย เพราะสถาบันการเงินอาจส่งฟ้องศาลจนเกิดผลกระทบด้านอื่นๆ ตามมา


4.ปรับพฤติกรรมการใช้จ่าย

การควบคุมเรื่องการใช้จ่ายด้วยการหยุดซื้อในสิ่งที่ไม่จำเป็น เช่น หยุดซื้อเสื้อผ้า หยุดช้อปไปทั่ว หยุดเที่ยวเฮฮา จากนั้นให้นำเงินที่เหลือไปชำระหนี้บัตรเครดิตด้วยการพยายามจ่ายให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้


อยากลงทุนสำเร็จ เป็นเพื่อนกับเรา พร้อมรับข่าวสารได้ทุกช่องทางที่
APP ทันหุ้น ANDROID คลิ๊ก
https://qrgo.page.link/US6SA
APP ทันหุ้น IOS คลิ๊ก
https://qrgo.page.link/QJKT7
LINE@ คลิ๊ก
https://lin.ee/uFms4n5
FACEBOOK คลิ๊ก
https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
YOUTUBE คลิ๊ก
https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA
TELEGRAM คลิ๊ก
https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิ๊ก
https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X