> SET >

02 พฤศจิกายน 2020 เวลา 09:25 น.

สหรัฐฯ ตัด GSP ไทย รอบที่ 2 ไม่กระทบพื้นฐาน กระทบ Sentiment

ทันหุ้น-สู้โควิด : บล.เอเชีย พลัส หรือ ASPS ระบุกระแสข่าวสหรัฐประกาศตัดสิทธิพิเศษภาษี(GSP) กับไทยเพิ่มขึ้นรอบที่ 2 มีผล 30 ธ.ค.2563 เป็นผลมาจากไทยไม่ยอมเปิดตลาดเนื้อหมูและเครื่องในจากสหรัฐฯ ที่ใช้สารเร่งเนื้อแดง ASPS ถือเป็นประเด็นที่เคยเกิดขึ้นแล้ว โดยสหรัฐมีการตัดสิทธิ GSP กับไทยดังนี้


รอบที่ 1(ข่าวออกว่าจะตัดสิทธิวันเสาร์ที่ 26 ต.ค.2562 แต่มีผล 25 เม.ย.63 โดยตัดสิทธิ GSP573 สินค้า อาทิ อาหารสำเร็จรูป, เครื่องใช้ไฟฟ้า, เซรามิก, อาหารทะเล, ผัก ผลไม้, เมล็ดพันธุ์, น้ำเชื่อม น้ำตาล, ซอสถั่วเหลือง, น้ำผัก น้ำผลไม้, ทอง, เหล็ก ฯลฯ มูลค่าส่งออกรวมกันราว 1,3 พันล้านเหรียญฯ ASPS ทำสถิติผลตอบแทนหุ้นส่งออกหลังจากมีข่าวสหรัฐตัดสิทธิ GSP


รอบนี้ พบว่าหุ้นส่งออกส่วนใหญ่ตอบรับในเชิงลบ อาทิ HANA DELTA ฯลฯ (ดังรูปด้านล่าง)ส่วนหุ้นที่ราคาทรงตัว อาทิ KCE STA NER KSL  พบว่าราคาเปิดต่ำ แต่มีแรงไล่ซื้อกลับมา ฯลฯ

เป็นประเด็นจะมีผล 30 ธ.ค. 63 ) ตัดสิทธิ GSP ราว 200 สินค้า อาทิ ชิ้นส่วนรถยนต์, สินค้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บางประเภท, เครื่องครัวอะลูมิเนียม, หอยบางชนิด, มะม่วง, ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ อาหารอบแห้ง ฯลฯ มูลค่าราว 817ล้านดอลลาร์สหรัฐ


ASPS ประเมินผลกระทบกรณีตัดสิทธิ GSPไม่กระทบทั้งเศรษฐกิจและแนวโน้มภาคส่งออกในปี 2564 มากนัก คือ เพราะไทยใช้สิทธิ GSP ส่งออกสินค้าไปสหรัฐราว 4-4.4 พันล้านบาท/ปี คิดราว 15% ของยอดส่งออกสินค้า รวม GSP และไม่ใช้สิทธิ GSP ไปสหรัฐ โดยปี 2562 ราว 2.8 หมื่นล้านเหรียญฯแต่จะกระทบคือ ผู้ส่งออกสินค้าที่อยู่ในรายการสินค้าดังกล่าว จะเสียภาษีเพิ่ม 4-5%(ต้นทุนเพิ่มขึ้น)


ในส่วนพื้นฐานตลาดหุ้น รวมถึงหุ้นส่งออก คาดกระทบจำกัดมาก กระทบเฉพาะ Sentiment ดังนี้

กลุ่มส่งออกชิ้นส่วนฯ,เกษตรและอาหาร กระทบจำกัดหรือกระทบน้อยมาก  เพราะส่วนใหญ่ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ GSP จากการส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ อยู่แล้ว โดย STGT(Buy FV@B100) ไม่ได้ถูกตัดสิทธิ GSP สำหรับการส่งออกถุงมือยางไปสหรัฐฯ ในรอบนี้ จึงยังได้สิทธิประโยชน์ตามเดิม ทำให้ผู้นำเข้าถุงมือยางจากสหรัฐฯ ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า 3% ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบผู้ส่งออกถุงมือยางจากมาเลเซีย ที่ไม่ได้สิทธิประโยชน์ GSP แล้ว แต่หากสหรัฐฯตัดสิทธิ GSP ถุงมือยางไทยในอนาคต ฝ่ายวิจัยประเมินว่า STGT จะได้รับผลกระทบจำกัด เพราะผู้นำเข้าถุงมือยางจากสหรัฐฯ จะเสียภาษีนำเข้าราว 3% ใกล้เคียงกับผู้ส่งออกถุงมือยางจากมาเลเซีย จึงยังสามารถแข่งขันได้ อีกทั้ง ปัจจุบันความต้องการใช้ถุงมือยางมีสูงมาก ประเมินว่า STGT สามารถผลักภาระไปให้ลูกค้าได้ โดยปัจจุบัน STGT มีสัดส่วนรายได้ส่งออกถุงมือยางไปสหรัฐฯราว 18% ของรายได้รวม


ขณะที่ TU (Buy FV@B17) ก็แทบไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ GSP อยู่แล้ว จึงได้รับผลกระทบจำกัด อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน สหภาพยุโรปมีการ Lock down เพิ่มขึ้นในหลายประเทศ จะส่งผลบวกต่อแนวโน้มยอดขายอาหารกระป๋อง (50% ของรายได้รวม) ให้เพิ่มขึ้นตั้งแต่งวด 4Q63 เป็นต้นไป ส่งผลบวกต่อแนวโน้มผลการดำเนินงานของ TU ให้เติบโตต่อในปี 2564


กลุ่มยานยนต์ กระทบจำกัดหรือกระทบน้อยมาก  อาทิ AH(Switch [email protected]), STANlY ([email protected]) ไม่ได้มีการส่งออกไปสหรัฐ SAT (Buy [email protected]) มีชิ้นส่วนบางประเภทที่ส่งออกไปสหรัฐ (ราว 5%) แต่ไม่ได้สิทธิ GSP อยู่แล้ว


อยากลงทุนสำเร็จ เป็นเพื่อนกับเรา พร้อมรับข่าวสารได้ทุกช่องทางที่
APP ทันหุ้น ANDROID คลิ๊ก
https://qrgo.page.link/US6SA
APP ทันหุ้น IOS คลิ๊ก
https://qrgo.page.link/QJKT7
LINE@ คลิ๊ก
https://lin.ee/uFms4n5
FACEBOOK คลิ๊ก
https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
YOUTUBE คลิ๊ก
https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA
TELEGRAM คลิ๊ก
https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิ๊ก
https://twitter.com/thunhoon1


จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X