> SET >

25 กันยายน 2020 เวลา 19:06 น.

REIC คาดโครงการใหม่อสังหาฯครึ่งปีหลังซบ, เสนอรัฐออกมาตรการกระตุ้น

ทันหุ้น -สู้โควิด : REIC คาดโครงการใหม่อสังหาริมทรัพย์ในครึ่งปีหลัง ชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ประเมินว่าในปี 2564 เริ่มกลับมาดีขึ้นเล็กน้อย ด้านสถานการณ์มูลค่าโอนกรรมสิทธิ์อาคารชุดต่างชาติยังคงเป็นศูนย์ในครึ่งปีหลัง ขณะเดียวกันเสนอภาครัฐออกมาตรการกระตุ้นซื้อบ้านราคา 3-5 ล้านบาท หลังเห็นแนวโน้มความต้องการกลุ่มนี้ยังขยายตัวดีต่อเนื่อง


ดร.วิชัย วิรัตกพันธ์ ผู้ตรวจการธนาคารอาคารสงเคราะห์แบะรักษาการผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ หรือ REIC เปิดเผยว่า ภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2563 คาดว่าจำนวนการโอนกรรมสิทธิ์ (ยูนิต) และมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ทั้งโครงการแนวราบและอาคารชุดในประเทศไทย มีทิศทางปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากในช่วงครึ่งแรกปี รวมไปถึงสถานการณ์มูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ของชาวต่างชาติจะยังไม่ดี หรือเป็นศูนย์ แม้มียอดขายหรือ

สัญญาการจัดซื้อในมือผู้ประกอบการ แต่ปัจจุบันจากปัจจัยการปิดประเทศและปิดน่านฟ้าระหว่างประเทศ ส่งผลกระทบให้ชาวต่างชาติยังไม่สามารถเข้ามาทำธุรกรรมไม่ได้ในไทยได้ในปัจจุบันและคาดว่าจะรากยาวไปจนถึงต้นปีหน้าอีกด้วย


*ครึ่งหลังปีตลาดทรุด


ทั้งนี้ มองว่าตั้งแต่ไตรมาส 3/63 และในไตรมาส 4/63 จำนวนยูนิตที่อยู่อาศัยเปิดตัวโครงการใหม่ จำนวนการขาย และมูลค่าการขายของยูนิตใหม่จะปรับตัวลดลงจากครึ่งปีแรกของปี 2563 โดยคาดว่าจะเห็นการกลับมาฟื้นตัวอีกครั้งในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2564 ซึ่งแม้ปรับตัวดีขึ้นแต่ยังคงมีการติดลบน้อยลง และจะกลับมาเป็นบวกได้ตั้งแต่ไตรมาส 3/64 เป็นต้นไป เนื่องจากช่วงที่เหลือของปี 2563 จะยังเป็นการระบายสินค้าเหลือขาย (Stock) มากกว่า ซึ่งจะช่วยหนุนให้ปี 2564 มีการเปิดตัวโครงการใหม่มากขึ้น 


ขณะที่ความต้องการที่อยู่ หรืออัตราการดูซับต่อเดือนของที่อยู่อาศัยในช่วงครึ่งปีหลังของโครงการแนวราบ และอาคารชุด นั้น คาดว่าจะปรับตัวลดลงเหลือเพียง 1.7%  จากครึ่งปีแรก 2.6% เทียบกับค่าเฉลี่ยปกติ 3.5% และมีจำนวนเดือนขายหมด (รอบการระบายสต๊อก) เพิ่มขึ้นเป็น 52 เดือน จากครึ่งปีแรก 33 เดือน 


อย่างไรก็ดี ประเมินว่าสถานการณ์ในปี 2564 อัตราการดูดซับจะเฉลี่ยอยู่ที่ 2% และมีจำนวนเดือนขายหมดดีขึ้นเหลือเฉลี่ย 40 เดือน


ขณะเดียวกันประเมินแนวโน้มการขออนุญาติก่อสร้างที่อยู่อาศัยทั่วประเทศไทยในปี 2563 คาดว่าทั้งแนวราบและอาคารชุดจะมีการขอก่อสร้างที่ลดลง สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกันกับหน่วยที่อยู่อาศัย (ยูนิต) ที่ออกสู่ตลาดในทั้งปีนี้ที่ลดลง โดยในปีนี้มองว่าผู้ประกอบการจะหันมาระบายสินค้าสร้างเสร็จพร้อมโอนมากกว่าการเปิดตัวโครงการใหม่ ซึ่งจะช่วยหนุนให้ภาพรวมการเปิดตัวโครงการใหม่ในปี 2564 ปรับตัวดีขึ้นกว่าปี 2563 โดยปัจจัยหลักๆ เป็นผลมาจากผู้ประกอบส่วนใหญ่มีการชะลอการเปิดตัวโครงการใหม่


**เสนอรัฐออกมาตรการกระตุ้น


โดยเฉพาะอาคารชุดเพื่อรอให้ดีมานด์ฟื้นตัวกลับมาทำให้โครงการจำนวนมากถูกเลื่อนกำหนดมาเปิดในปี 2564 ทั้งนี้ ทางศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์คาดการณ์ว่าในปี 2564-2568 อาคารชุดมีแนวโน้มการขออนุญาตก่อสร้างลดลด ในขณะที่แนวราบจะมีการขออนุญาติการก่อสร้างที่เพิ่มขึ่น ทั้งนี้ แม้ว่าสถานการณ์สร้างเสร็จจดทะเบียนไปจนถึงปี 2568 จะลดลงมาก แต่มองว่านี่ยังคงไม่ใช่จุดต่ำสุดของอสังหาริมทรัพย์ เพราะเคยต่ำกว่านี้ในช่วงที่เกิดวิกฤตน้ำท่วมในปี 2554


โดยสถิติหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ของทั่วประเทศไทยที่สูงที่สุดของแต่ละประเภทในช่วงครึ่งแรกปีนี้ประกอบไปด้วย กลุ่มอาคารชุดโอนกรรมสิทธิ์ในระดับราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท มากที่สุด คิดเป็น 33%, กลุ่มบ้านเดี่ยวโอนกรรมสิทธิ์ในระดับราคาต่ำกว่า 1 ล้านบาท มากที่สุด คิดเป็น 35%


กลุ่มทาวเฮ้าส์โอนกรรมสิทธิ์ในระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาท มากที่สุด คิดเป็น 26%, บ้านแฝดโอนกรรมสิทธิ์ในระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท มากที่สุด คิดเป็น 32% และอาคารพาณิชย์โอนกรรมสิทธิ์ในระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาท มากที่สุด คิดเป็น 21% เป็นต้น อย่างไรก็ดี คาดการณ์ว่าหน่วยโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยทั่วประเทศไทยทั้งปี 2563 จะมีจำนวนยูนิตอยู่ 319,210 ยูนิต และในปี 2564 จะเฉลี่ยอยู่ที่ 326,185 ยูนิต


ขณะที่มูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ของทั่วประเทศไทยที่สูงที่สุดของแต่ละประเภทในช่วงครึ่งแรกปี 2563 ประกอบไปด้วยกลุ่มอาคารชุดระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท มีมูลค่ามากที่สุด คิดเป็น 21%, กลุ่มบ้านเดี่ยวระดับราคา มากกว่า 10 ล้านบาท มีมูลค่ามากที่สุด คิดเป็น 22%, กลุ่มทาวเฮ้าส์ระดับราคา 2.01-3.00 ล้านบาท มีมูลค่ามากที่สุด คิดเป็น 35%, บ้านแฝดระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท มีมูลค่ามากที่สุด คิดเป็น 42% และอาคารพาณิชย์ระดับราคา 3.01-5.00 ล้านบาท มีมูลค่ามากที่สุด คิดเป็น 23% เป็นต้น 


อย่างไรก็ดี คาดการณ์ว่า มูลค่าโอนกรรมสิทธิทั้งปี 2563 เฉลี่ยอยู่ที่ 723,212 ล้านบาท และในปี 2564 เฉลี่ยอยู่ที่ 767,420 ล้านบาท


"สถานการณ์หน่วยโอนกรรมสิทธิ์และมูลค่าการโอนกรรมสิทธิ์ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2563 ต้องยอมรับว่าไม่ดีเลย แต่ก็มองว่าเป็นไปตามวัฎจักรของอสังหาริมทรัพย์ซึ่งมีแนวโน้มชะลอตัวลงตั้งแต่ปี 2562 จากปัจจัยการกำหนดใช้มาตรการ LTV ทั้งนี้ จากสถิติของหน่วยโอนกรรมสิทธิ์และมูลค่าโอนกรรมสิทธิ์ในช่วงที่ผ่านมา สะท้อนให้เห็นความความต้องการที่พักอาศัยระดับราคา 3-5 ล้านบาทนั้นมีการขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง แต่ด้วยมาตรการบางอย่างที่ยังไม่เอื้อต่อการตัดสินใจซื้อของภาครัฐทำให้ผู้ซื้อยังมีการชะลอการตัดสินใจซื้ออีกจำนวนมาก ดังนั้นจึงเห็นควรว่าภาครัฐวางมาตรการใหม่เพื่อมากระตุ้นและขยายสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและค่าธรรมเนียมให้กับลูกค้าในกลุ่มดังกล่าวนี้ด้วย"ดร.วิชัย กล่าว



อยากลงทุนสำเร็จ เป็นเพื่อนกับเรา พร้อมรับข่าวสารได้ทุกช่องทางที่
APP ทันหุ้น ANDROID คลิ๊ก
https://qrgo.page.link/US6SA
APP ทันหุ้น IOS คลิ๊ก
https://qrgo.page.link/QJKT7
LINE@ คลิ๊ก
https://lin.ee/uFms4n5
FACEBOOK คลิ๊ก
https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
YOUTUBE คลิ๊ก
https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA
TELEGRAM คลิ๊ก
https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิ๊ก
https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X