> SET > CPF

15 กันยายน 2020 เวลา 09:48 น.

CPF เตรียมเข้าซื้อธุรกิจสุกรในจีน โบรกฯ มองบวกทั้งระยะสั้น-ยาว

ทันหุ้น-สู้โควิด : บล.ทรีนีตี้ จำกัด ระบุ CPF เตรียมให้บริษัทย่อยแลกหุ้นกับธุรกิจสุกรในจีน โดยเมื่อวานนี้ (14 ก.ย. 63) CPF ประกาศมติคณะกรรมการเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 63 อนุมัติการเข้าซื้อธุรกิจสุกรในจีน ระหว่าง Chia Tai Investment (CTI) ซึ่งเป็นบริษัทในจีนที่ CPF ถือหุ้นผ่าน CPP ทำการแลกหุ้นกับ Chia Tai Animal Husbandry Investment (Beijing) Co., Ltd. ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ CPG ถือหุ้นทั้งหมดทางอ้อม


โดย CTI จะชำระค่าตอบแทนในมูลค่ารวม 131,287 ล้านบาท ด้วยการออกหุ้นใหม่คิดเป็น 65% ของหุ้นทั้งหมดของ CTI ภายหลังการเพิ่มทุนในแก่คู่สัญญา ทำให้ภายหลังการทำธุรกรรม CPP (ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่ CPF ถือหุ้นในสัดส่วน 52%) จะมีสัดส่วนการถือหุ้นใน CTI เหลือ 35% จากเดิมที่ 100% ขณะที่ CTI จะเข้าถือหุ้น 100% ใน Chia Tai Animal Husbandry Investment (Beijing) Co., Ltd (CTIA) โดยจะมีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อขออนุมัติรายการในวันที่ 27 ต.ค. 63 และคาดว่าจะปิดดีลได้ภายในปีนี้


เป็นบวกทั้งระยะสั้นและระยะยาว

สำหรับธุรกรรมดังกล่าว หากเทียบในด้าน PER จะเปรียบเสมือน CTI เข้าลงทุนในสัดส่วน PER ที่ 6 เท่า ขณะที่ CTIA จะเข้าลงทุนใน CTI ในสัดส่วน PER 15.9 เท่า (อ้างอิงกำไรย้อนหลัง 12 เดือน) ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ CPF มีรายได้ลดลง (เนื่องจาก CPP จะไม่รวมงบการเงินของ CTI เข้ามาภายหลังถือหุ้นเหลือ 35%) แต่จะมีกำไรเพิ่มขึ้นราว 11% (อ้างอิงกำไรย้อนหลัง 12 เดือน) เนื่องจากกำไรของ CTI ภายหลังรวมงบของ CTIA เข้ามามีขนาดใหญ่ขึ้น ทั้งนี้ในช่วงปี 2562 ธุรกิจของ CTIA ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่จากผลกระทบของโรคระบาด ASF ที่ทำให้ราคาสุกรในจีนตกต่ำ แต่ปัจจุบันราคาสุกรในจีนปรับตัวขึ้นมามาก คาดว่ากำไรในอนาคตของ CTIA จะเติบโตสูงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า นอกจากนี้ CPP ยังอาจมีการบันทึกกำไรพิเศษจากการขายหุ้นในส่วน 65% ในงวดที่ธุรกรรมเสร็จสิ้น


คาดจะเกิด Synergy หนุนการเติบโตในอนาคต

นอกจาก CPF จะได้ผลบวกจากกกำไรที่เพิ่มขึ้นทันทีที่ธุรกรรมเสร็จสิ้นแล้ว ยังมีโอกาสที่ธุรกิจในประเทศจีนจะเติบโตขึ้นในอนาคต เนื่องจากเดิมธุรกิจของ CTI เป็นการผลิตอาหารสัตว์ และธุรกิจของ CTIA เป็นการผลิตสุกร โดย CTIA ปัจจุบันสามารถผลิตสุกรได้ราว 4 ล้านตัวต่อปี มีส่วนแบ่งตลาดเป็นอันดับ 5 ในประเทศจีน ภายหลังการควบรวมคาดว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตในปี 2564 ขึ้นเป็นราว 8 ล้านตัวต่อปี และเพิ่มเป็นราว 12 ล้านตัวต่อปีในปี 2565


คงราคาเป้าหมาย รอการปรับประมาณการ

เรายังคงประมาณการกำไรเดิมและราคาเป้าหมายไว้ที่ 41 บาท โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการทบทวนประมาณการเพื่อสะท้อนธุรกรรมดังกล่าว ทั้งนี้เบื้องต้นเรามองผลกระทบจากธุรกรรมเป็นบวกต่อทั้งประมาณการกำไรและราคาเป้าหมาย จึงยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” 


ความเสี่ยง:ความเสี่ยงจากการระบาดของโรค AFS อาจทำให้ราคาหมูปรับตัวลง


**ด้าน บล.หยวนต้า มองกรณี CPF ประการซื้อกิจการหมูในประเทศจีนด้วยมูลค่า 1.31 แสนล้านบาท ผ่านบริษัทย่อย โดยการเพิ่มทุนบริษัทย่อยให้กับผู้ขายแทนการใช้เงินสด CPF ไม่ต้องใช้เงินสด ไม่ต้องเพิ่มทุน 


ทั้งนี้ การเพิ่มทุนในบริษัทย่อย CTI ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของ CPF ลดลงจาก 52% เป็น 18% แต่กำไรเพิ่มขึ้นมากว่า Dilution ทำให้กำไรสุทธิของ CPF เพิ่มขึ้นจากประมาณการของเราไม่น้อยกว่า 14% หรือราว 5บาท+/- ต่อหุ้น


ฝ่ายวิจัยมีมุมมองบวกต่อธุรกรรมนี้ ทำให้ CPF ได้ประโยชน์จากราคาหมูที่สูงมากในจีนเต็มที่ และเป็นผู้ผลิตหมูอันดับที่ 5 ในจีนขณะที่ยังมีแผนการขยายกำลังการผลิตต่อเนื่อง คาดดีลแล้วเสร็จใน 4Q63 ซึ่งจะทำให้ CPF รับรู้กำไรพิเศษราว 2,600 ลบ. ราคาหุ้นปรับตัวลงแรงจนทำให้ซื้อขายด้วย PER2564 ต่ำเพียง 10.7x ต่ำสุดในกลุ่มอาหาร เป็นโอกาสซื้อ  


อยากลงทุนสำเร็จ เป็นเพื่อนกับเรา พร้อมรับข่าวสารได้ทุกช่องทางที่
APP ทันหุ้น ANDROID คลิ๊ก
https://qrgo.page.link/US6SA
APP ทันหุ้น IOS คลิ๊ก
https://qrgo.page.link/QJKT7
LINE@ คลิ๊ก
https://lin.ee/uFms4n5
FACEBOOK คลิ๊ก
https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
YOUTUBE คลิ๊ก
https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA
TELEGRAM คลิ๊ก
https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิ๊ก
https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X