> เป้าลงทุน หุ้นคาร์บอนต่ำ > AMATA

05 สิงหาคม 2020 เวลา 14:26 น.

ทำไมแนวโน้ม AMATA-WHA ถึงสวนทางกัน

โดยปกติ หุ้นที่มีการทำธุรกิจประเภทเดียวกัน ราคาหุ้นมักจะวิ่งไปในทิศทางเดียวกัน อาจมีความแตกต่างกันเล็กน้อย หากหุ้นตัวนั้นเป็น Leader ของกลุ่ม ราคาหุ้นมักจะขึ้นมาก่อนหรือขึ้นมากกว่าตัวอื่นๆ แต่ถ้าเป็นหุ้น Laggard กลุ่ม ราคาหุ้นมักจะขึ้นตามมาทีหลังหรือขึ้นน้อยกว่า


แต่วันนี้ เราจะมาวิเคราะห์หุ้นที่มีการทำธุรกิจเดียวกัน แต่ราคาหุ้นไม่ได้วิ่งไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะยก Case Study อย่าง AMATA และ WHA ซึ่งทั้ง 2 บริษัท ประกอบธุรกิจพัฒนานิคมอุตสาหกรรม มีรายได้จากการขายและให้เช่าที่ดิน และให้บริการสาธารณูปโภคแก่ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ทั้งน้ำดิบ น้ำประปา และไฟฟ้า


หากวิเคราะห์จากสถิติในอดีต เมื่อมีปัจจัยใหม่เข้ามาไม่ว่าจะบวกหรือ จะพบว่าราคาหุ้นของ AMATA และ WHA มีการเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน แต่ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมากลับเคลื่อนไหวตรงกันข้าม เนื่องจาก WHA มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น และรักษาแนวโน้มขาขึ้นต่อไปได้

ในขณะที่ AMATA กลับหลุด Low เดิมและเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาลง


สาเหตุที่เป็นแบบนี้ เพราะว่าเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน AMATA มีการประกาศเพิ่มทุนจำนวน 83 ล้านหุ้น โดยเสนอขายให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) อัตรา 12.8554217 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ขึ้นเครื่องหมาย XR วันที่ 18 ก.ย. 63 เบื้องต้น บริษัทยังไม่ได้ประกาศราคาเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน แต่ยืนยันว่าจะประกาศก่อนวัน Record Date หรือ 21 ก.ย. 63 และกำหนดช่วงใช้สิทธิจองซื้อในวันที่ 9 -16 ต.ค. 63


วัตถุประสงค์ของการเพิ่มทุนของครั้งนี้ เกิดจากการที่บริษัทมีแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะอมตะย่างกุ้ง เฟส 1 (Yangon Amata Smart & Eco City) ในประเทศเมียนมา เพื่อขยายธุรกิจเมืองอัจฉริยะของ AMATAออกสู่ประเทศเพื่อนบ้าน และคาดว่าจะขยายไปยังพื้นที่อื่นๆอีกในอนาคต เป็นการเพิ่มโอกาสสร้างรายได้จากการขายหรือให้เช่าที่ดิน และการบริการด้านสาธารณูปโภคให้กับ AMATA ได้อีกในระยะยาว


ส่วนระยะสั้น AMATA มีปัจจัยเสี่ยงด้านเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ การปรับ ครม. โดยเฉพาะทีมบริหารเศรษฐกิจ อาจทำให้การสนับสนุน EEC ไม่มีความต่อเนื่อง นอกจากนี้ การระบาดของ Covid-19 ทำให้แนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวทั่วโลก อาจทำให้ความต้องการใช้พื้นที่ในเขตอุตสาหกรรมลดลง ส่งผลกระทบเชิงลบต่อรายได้จากการขายหรือให้เช่าที่ดิน ซึ่งเป็นรายได้หลักของ AMATA นั่นเอง


เมื่อวิเคราะห์จากข่าวสารเกี่ยวกับการเพิ่มทุน ซึ่งทำให้ราคาหุ้นปรับตัวลดลงจาก Dilution Effect* ของการเพิ่มทุน ประกอบกับทางเทคนิค AMATA มีแนวโน้มขาลง เราจึงให้คำแนะนำเปิดสถานะ Short ใน AMATA Futures ดังนี้


(Dilution Effect คือ การลดลงของราคาเพื่อตอบสนองต่อ Corporate Action เช่น การเพิ่มทุน, การจ่ายปันผล หรือการแจกวอร์แรนท์)

กรอบการซื้อขาย AMATA อยู่ที่ 13.50 - 15 บาท เราแนะนำให้เปิดสถานะ Short บริเวณ 14 - 14.50 บาท จุด Stop Loss 15 บาท และมีเป้าหมายการทำกำไรที่กรอบ 13 – 13.50 บาท หากนักลงทุนท่านใดต้องการถือ AMATA Futures จนถึงวันขึ้น XR 18 ก.ย. 63 อย่าลืมติดตามสถานะของพอร์ต และปิดสถานะทำกำไรด้วย โดยเฉพาะ ท่านที่ซื้อขาย AMATAU20 เพราะ เป็นช่วงใกล้หมดอายุสัญญา


หมายเหตุ: ราคา ณ วันที่ 5 ส.ค. 63


ที่มา : บริษัทหลักทรัพย์ที่ปรึกษาการลงทุน คลาสสิก ออสสิริส จำกัด

อยากลงทุนสำเร็จ เป็นเพื่อนกับเรา พร้อมรับข่าวสารได้ทุกช่องทางที่

APP ทันหุ้น ANDROID คลิ๊ก https://qrgo.page.link/US6SA

APP ทันหุ้น IOS คลิ๊ก https://qrgo.page.link/QJKT7

LINE@ คลิ๊ก https://lin.ee/uFms4n5

FACEBOOK คลิ๊ก https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/

YOUTUBE คลิ๊ก https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA

TELEGRAM คลิ๊ก https://t.me/thunhoon_news

Twitter คลิ๊ก https://twitter.com/thunhoon1

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X