> เคล็ดลับลงทุน > SICT

24 กรกฎาคม 2020 เวลา 15:53 น.

รู้จัก! ยักษ์ไมโครชิปไทย เป้าหมายคือเบอร์หนึ่ง

ทำความรู้จัก บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SICT หุ้น IPO น้องใหม่ ที่เข้าเทรดปลาย ก.ค. นี้ ผู้ประกอบธุรกิจ ธุรกิจวิจัยและพัฒนาเพื่อออกแบบและส่งมอบวงจรรวม (Integrated Circuit Design: IC) หรือไมโครชิป (Microchip) ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญของอุปกรณ์ระบบ RFID โดยการว่าจ้างผลิตเพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้า ภายใต้เครื่องหมายการค้า “SIC” น่าสนใจอย่างไร


ก่อนอื่นต้องทราบถึงที่มาที่ไปของ บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SICT ก่อตั้งโดยกลุ่มนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยในปี 2545 ด้วยทุนจดทะเบียน 5.00 ล้านบาท ภายใต้การนำของ นายมานพ ธรรมศิริอนันต์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SICT อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบวงจรจรรวม (IC Specialist) ในโครงการสมองไหลกลับ (Reverse Brain Drain) ที่ต้องการนำความรู้และประสบการณ์จากการทำงานด้านการออกแบบวงจรรวม (Intergreted Circuit : IC) ในต่างประเทศมานานนับ 10 ปี มาถ่ายทอดและพัฒนาให้เห็นว่างานวิจัยหรือความรู้ด้านวงจรรวมสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจได้สูงมากเมื่อเทียบการลงทุน


@ จุดเริ่มต้น ของ SICT

นายมานพ กล่าวว่า จุดเริ่มต้นของธุรกิจของSICT เริ่มขึ้นตอนที่กลับมาจากอเมริกา ระหว่างศึกษาและอยู่อาศัยที่นั่นทำให้มีโอกาสมีได้ทำงานทางด้าน Microchip ประมาณ 12 ปี และได้มีโอกาสไปเรียนต่อที่ประเทศแคนาดา ในสาย Microchip designและทำงานที่นั่นประมาณ5-6ปี และจากนั้นถูกดึงตัวกลับมาทำงานที่เมืองไทย โดยได้ขอเสนอจาก สวทช. ให้มาจัดตั้งบริษัทนักออกแบบวงจรร่วมกัน จึงตัดสินใจกลับมาทำงานที่บ้าน และมีความฝันอยากทำบริษัท Microchip designอยู่แล้วแต่เนื่องจากยังไม่มีความพร้อมด้านเงินทุนจึงสั่งสมประสบการณ์ก่อน


นอกจากนี้ยังมีผู้ร่วมก่อตั้งอีก 4 ท่าน ที่อยู่ในแวดวงไอที จึงได้มีการชักชวนกันมาทำ role model ให้คนไทยได้เห็นว่าเราทำ Microchipได้ก็จากนั้นจึงมีการลงทุนจดทะเบียนบริษัทเป็นบริษัท ซิลิคอน คราฟท์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) หรือ SICT

ในช่วงเริ่มแรก นักเรียนที่เรียนกับอาจารย์ผู้ที่ก่อตั้งบริษัท ส่วนใหญ่จะจบปริญญาโท ได้มาทำงานร่วมกับบริษัท ถือว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ โดยเริ่มรับทำ ดีไซน์เซอร์วิส งานรับจ้างทั่วไป ซึ่ง ณ ตอนนั้นรู้สึกว่ายังไม่รุ่ง จึงคิดว่าจะต้องทำโปรดักส์ใหม่ขึ้นมาแต่ก็ยังต้องนั่งคิดว่าจะทำโปรดักส์อะไรดี


@ เริ่มเคาะโปรดักส์แรก

พอดีจังหวะนั้นมีเทคโนยี น้องใหม่เข้ามาคือ อุปกรณ์ระบบ RFID ซึ่งเป็นรูปแบบ ผู้ออกแบบวงจรรวมและพัฒนาเป็นไมโครชิปสำหรับอุปกรณ์ระบบ RFID โดยไม่มีสายการผลิตเป็นของตนเอง (Fabless/factoryless Company)


มุ่งเน้นการพัฒนาการออกแบบและรับรองคุณสมบัติของไมโครชิป ประเภทที่สามารถกำหนดความสามารถในการทำงาน ทั้งแบบเฉพาะเจาะจงตามความต้องการของลูกค้า (Application Specification Integrated Circuit : ASIC) และแบบมีนวัตกรรมเฉพาะที่บริษัทพัฒนาขึ้นเพื่อนำเสนอต่อกลุ่มลูกค้าต่างๆ ที่ต้องการประยุกต์ใช้นวัตกรรมนั้นในการต่อยอดธุรกิจ


จากแนวคิดสู่การว่าจ้างพันธมิตรทางการค้าให้ดำเนินการผลิตไมโครชิป ตามที่บริษัทฯ ออกแบบ เพื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าทั้งในรูปแบบของไมโครชิป หรือ นำไมโครชิปไปประกอบเข้ากับวัสดุต่างๆ เป็นรูปแบบและรูปทรง (Form Factor) แตกต่างไปตามการใช้งาน เช่น แบบติดกับขดลวด, แบบแท่งพลาสติก, แบบแท่งแก้ว, หรือแผ่นกระดาษสติกเกอร์ เป็นต้น เพื่อให้ลูกค้าสามารถนำไมโครชิปของบริษัทฯ ไปใช้ในแท็กหรือเครื่องอ่านของระบบ RFID ซึ่งมีการทำงานตามชุดคำสั่งที่กำหนด

โดยขณะนั้นบริษัทมีศักยภาพมากพอที่จะสามารถผลิตโปรดักส์นี้ได้และไม่ได้ใช้เงินลงทุนมากนัก


จึงเริ่มทำการออกแบบระบบ RFID ที่ใช้ในกลุ่มปศุสัตว์ หรือ รหัสประจำตัวสัตว์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ค่อยมีในเมืองไทยในช่วงนั้น


@ ผลิตไมโครชิปต้องเชี่ยวชาญ

นายมานพ ระบุว่า ปัจจุบันบริษัทเป็นผู้รับจ้างผลิตไมโครชิปให้กับคู่ค้าในต่างประเทศ ซึ่งเป็นบริษัทต้นน้ำโดยเริ่มตั้งแต่การออกแบบโครงสร้างวงจรและคิด concept โดยเอาข้อมูลและความต้องการของลูกค้าออกมาตีเป็นวงจรซึ่งในเมืองไทยยังไม่มีบริษัทไหนทำแบบนี้ เนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ยากการลงทุนสูงและมีโอกาสเสี่ยงในการทำไม่สำเร็จเยอะมากและบุคลากรมีต้นทุนที่สูง


ความยากของไมโครชิพ ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจทางด้านอิเล็กทรอนิกส์ค่อนข้างสูงและบริษัทเอง สามารถพัฒนาเทคโนโลยีประเภทนี้เข้ากับโปรดักส์ตัวอื่นๆ เช่น การวัดค่าต่างๆทางเคมีด้านสภาวะแวดล้อมในโทรศัพท์มือถือได้เลย ระบบคลาวด์

สำหรับสินค้าที่บริษัทจำหน่ายในปัจจุบันได้แก่ไมโครชิปสำหรับแท็กและเครื่องอ่าน ซึ่งสามารถแบ่งกลุ่มได้ดังนี้Automotive-Animal Tag-Access Control และ NFCหรือ เทคโนโลยีไร้สายที่ช่วยให้จับคู่กับอุปกรณ์ง่ายขึ้น 


สำหรับมือถือต่างๆนอกจากนี้ในอนาคต NFC จะเข้ามามีบทบาทในการควบคุมสุขภาพและสามารถเชื่อมต่อกับระบบของโลจิสติกส์การวัดค่าต่างๆเช่น การเข้าออกรถยนต์โดยไม่ต้องใช้กุญแจ แต่จะเปลี่ยนไปใช้ tab เอาซึ่งจะเป็นก้าวใหม่ของเทคโนโลยี NFC และ RFID ในอนาคตและบริษัทจะพัฒนาแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ เนื่องจากบริษัทมี Core Technology ที่สามารถพัฒนาไปได้อีกมาก


บริษัทมองว่าถ้าหากสามารถขยายตลาดในกลุ่ม NFC จะทำให้ผู้บริโภคเห็นสินค้าเรามากยิ่งขึ้น อาทิ การป้องกันการปลอมแปลง การเช็คโลจิสติกส์การวัดค่าของน้ำอาหารเช็คความปลอดภัยของอาหารผ่านทางแอพพลิเคชั่นในมือถือปัจจุบันอยู่ระหว่างทำวิจัยกับคู่ค้า ทำให้ราคาไม่สูงมากมีความเหมาะสมและผู้บริโภคเอื้อมถึงอาจจะอยู่ประมาณ 2- 3% ของราคาสินค้า


@ หวังขึ้นเบอร์หนึ่ง

บริษัทตั้งเป้าหมายการเติบโตในอนาคตจะขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งในอุตสาหกรรม ไมโครชิป (Microchip) ในอีก 4 ปี ข้างหน้า อยากให้นักลงทุน เชื่อมั่นใน SICT ว่าจะสร้างการเติบโตให้แก่นักลงทุน และเป็นบริษัทที่พัฒนาวิจัยระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยให้แก่ประเทศชาติอย่างแน่นอน

จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ่านต่อ

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X