> SET >

07 พฤษภาคม 2020 เวลา 09:24 น.

โบรกฯ คาด SET ผันผวนกรอบ1268-1285จุด จับตาประกาศงบ Q1-ตัวเลขศก.

ทันหุ้น-สู้โควิด : บล.เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด คาดดัชนีฯ มีแนวโน้มผันผวน นักลงทุนกลับมารอดูผลประกอบการและตัวเลขเศรษฐกิจที่ทยอยออกมาเรื่อยๆ  จะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นทั่วโลกสัปดาห์นี้ชะลอตัวลงถ้วนหน้า ราคาน้ำมันดีดตัวขึ้น แต่ยังอ่อนไหวอยู่มาก … ประเทศต่างๆ ทยอยปลดล็อกมาตรการควบคุม Covid-19 เป็นเรื่องที่บวกของตลาดของไทยจะพิจารณารอบสอง 17 พ.ค.นี้ แต่ยังมีความกังวลอยู่บ้างว่าการปลดล็อกเร็วเกินไปอาจมีการติดเชื้อรอบสอง(ทั่วโลก) รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศส่วนใหญ่ที่จะชะลอตัวลงมากจากผลของ Covid-19 ที่จะเริ่มปรากฎในการรายงาน กันแล้ว สหรัฐฯ เป็นประเทศที่ถูกจับตามองมากที่สุด หากตัวเลขการว่างงานพุ่งขึ้นมากจะกระทบมาถึงตลาดอื่นๆ ด้วย 


ทั้งนี้ ตัวเลขการจจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมของสหรัฐฯ ที่จะรายงานวันพรุ่งนี้(8) คาดจะลดลงถึง 21.5 ล้านตำแหน่ง สำหรับของไทยผลกระทบต่อการจ้างงานและการปิดกิจการก็สูงเช่นกันเพราะเศรษฐกิจไทยนั้นมีการชะลอตัวมาก่อนหน้านี้แล้ว เป็นตัวแปรกดดันตลาดหุ้นในช่วงนี้เช่นกัน ... 


ราคาน้ำมันดิบ Brent เช้านี้ $29.8 เหรียญ ราคาที่ปรับขึ้นมาจากระดับต่ำสุด ช่วยพยุงราคาหุ้นกลุ่มน้ำมัน (ผู้ผลิต+โรงกลั่นน้ำมัน) ในช่วงนี้ไว้ … การรายงานกำไร 1Q ของตลาด ทยอยออกมาแล้ว 39 บริษัท กำไรของ SET ลดลง 20% YoY (คาดทั้งหมดจะลดลง 29%) จากผลกระทบของราคาน้ำมันที่ลดลง 60% และ Covid-19 (บางส่วน) 


อย่างไรก็ตาม กำไร 2Q น่าจะเป็นตัวที่คนสนใจมากกว่า เพราะรับผลกระทบจาก Covid-19 ทั้งไตรมาส และจะสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในช่วงต่อไปด้วย ... Event ที่สำคัญ ๆ วันนี้ คือ ตัวเลขส่งออกของจีน (คาด -10%) และตัวเลขเคลมการว่างงานของสหรัฐฯ


Strategy

ตลาดหุ้นที่ซื้อขายน้อยวันในสัปดาห์นี้ รวมถึงข่าวส่วนใหญ่มาในทางลบ (กำไรตลาด+เศรษฐกิจโลก) ฉุดให้ดัชนีฯ ปรับฐานมาอยู่แถวๆ 1250-1280 จุด อีกครั้ง ทิศทางตลาดจะผันผวนและดูยาก ภาพรวมๆ เราแนะนำให้ชะลอดูทิศทางตลาดก่อนดีกว่า ... หุ้นในพอร์ตของเราวันนี้เราคงเดิมไว้ก่อน โดยพอร์ตหลัก เงินสด 10% หุ้นในพอร์ต KCE (25%), IVL (25%), BBL(20%)  และ BTS(20%) ส่วน พอร์ต KTBST SET50 (Skynet) เงินสด 20%  หุ้นในพอร์ต TOP(20%), MTC(20%), BBL(20%)  และ AWC(20%)


* เป็นหุ้นที่แนะนำโดย KTBST ยังไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์


Strategy Stock Pick

BTS  (เป้าเชิงกลยุทธ์ 13 บาท) - ตัวเลขคนเดินทางเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะ

ประเด็นสำคัญในการแนะนำ BTS คือ ตัวเลขผู้ติดเชื้อใหม่ที่ลดลงมาก และการผ่อนคลายมาตรการของภาครัฐฯ เริ่ม 3 พ.ค. จะทำให้คนกลับมาทำงานหรือมีกิจกรรมที่มากขึ้น เป็นบวกต่อหุ้นรถไฟฟ้าทั้งสองตัว (BTS-BEM)


ข้อมูลล่าสุดของกรมขนส่งทางรางระบุ มีประชาชนใช้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งในเขต กทม.เฉลี่ย เกือบ 400,000คน ต่อวันเพิ่มขึ้นจากสภาวะการณ์ช่วงวันที่ 1 พ.ค.63 มีเฉลี่ยเพียง 189,000 คน


ผลกระทบจาก COVID-19 ตัวเลขผู้โดยสารเดือน เม.ย. คาดจะลดลงเฉลี่ย -70% ถึง -80% YoY ขณะที่รายได้ O&M ไม่กระทบ

          

หลังมาตรการ Lockdown ผ่อนคลาย บริษัทอาจใช้วิธีเพิ่มความถี่ขบวนรถซึ่งเรามองเป็นบวกต่อรายได้


Technical : BCP, PSTC


Key Events

วันนี้ : ตัวเลขส่งออกจีน


News Comment

( + ) Commerce (Neutral) ศปค. รอประเมินผลปลดล็อก เตรียมเปิดห้างฯ กำหนดให้ช้อปคนละ 2 ชม.

( + ) BTS (ถือ/เป้า 12.20 บาท) ตัวเลขผู้โดยสาร BTS ปรับตัวดีขึ้น หลังผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์


Company Report

( + ) TU  (ซื้อ/เป้า 16.00 บาท), กำไร 1Q20 ดีกว่าคาดแม้รับผลกระทบจาก COVID-19 แนวโน้มดีขึ้นใน 2H20

( - ) BDMS (ถือ/ปรับเป้าลงเป็น 21.50 บาท) คาดกำไรสุทธิ 1Q20E ลดลง YoY และ QoQ จาก COVID-19

( - ) ERW (ถือ/ปรับเป้าลงเป็น 3.20 บาท) 1Q20E พลิกเป็นขาดทุน ขณะที่ 2Q20E จะขาดทุนหนักกว่า

( 0 ) Power (Neutral) COVID-19 คาดกระทบจำกัด - เลือกโรงไฟฟ้า IPP จากผลประกอบการมั่นคงที่สุด

( 0 ) AEONTS (ถือ/เป้า 140.00 บาท) คาดกำไร 1QFY21E จะเป็นจุดต่ำสุด

( 0 ) AMATA (ขาย/เป้า 10.00 บาท) คาดกำไรสุทธิ 1Q20E ได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน


Economic Outlook

ตลาดสหรัฐฯปิดในแดนลบจากตัวเลขตลาดแรงงานสหรัฐฯ ทรุดตัวลง สอดคล้องกับตัวเลขผู้ขอยื่นรับสวัสดิการในเดือนที่ผ่านมา ขณะที่กลุ่มพลังงานปรับตัวลงจากอุปทานน้ำมันดิบในสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ดีตลาดยังได้รับแรงหนุนจากกลุ่มเทคโนโลยีที่ยังเติบโตได้ดีในช่วงนี้


ตัวเลขกิจกรรมทางเศรษฐกิจในยุโรปชะลอตัวต่อเนื่อง หลังตัวเลขยอดจำหน่ายสินค้าปลีก (-9.2% YoY) และดัชนีฝ่ายจัดซื้อผู้จัดการภาคบริการ Services PMI  (12.0) ต่ำสุดในประวัติศาสตร์จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโควิด19 ส่งผลให้มีการชะลอกิจกรรมทางเศรษฐกิจ


ตัวเลขประมาณการจ้างงานภาคเอกชนในสหรัฐฯ พุ่งขึ้นสู่ 20.23 ล้านตำแหน่ง โดยเป็นแรงงานจากภาคบริการตกงานกว่า 16 ล้านตำแหน่ง ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมและก่อสร้างตกงานกว่า 4 ล้านตำแหน่ง


What to Watch

ติดตามการรายงานตัวเลขการส่งออกของจีนเดือนเม.ย. คาดว่าประมาณการส่งออกยังชะลอตัวเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า แต่เริ่มส่งสัญญาณการฟื้นตัวได้หลังจากประเทศจีนเริ่มดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมขณะที่ประเทศอื่นๆ ยังได้รับผลกระทบจากโควิด-19


SET Review

          

SET Recap

SET ปิดที่ระดับ 1,278.63 จุด ลดลง 23.03 จุด (-1.77%) มูลค่าการซื้อขาย 51,384.94 ล้านบาท ปัจจัยต่างประเทศ ความกังวล ทรัมป์ จะเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนรอบใหม่ ปัจจัยภายในประเทศ การควบคุมการแพร่ระราดโควิดได้ดี และการรายการงบ 1Q


News Comment

( + ) Commerce (Neutral) ศปค. รอประเมินผลปลดล็อก เตรียมเปิดห้างฯ กำหนดให้ช้อปคนละ 2 ชม.

นายกรัฐมนตรี เผยขณะนี้เราเตรียมการเพื่อเข้าสู่ระยะที่ 2 ถ้าสามารถผ่านระยะที่ 1 ไปได้ 14 วัน ก็มีอีกหลายแห่งด้วยกันที่จะเปิดในโอกาสต่อไป โดยตามกรอบกำหนดเดิมจะมีการปลดล็อกให้ธุรกิจเปิดเพิ่มทุกๆ 14 วัน ซึ่งล็อตแรก คือ 3 พ.ค. สิ่งสำคัญ คือ จะมีประชาชนจำนวนมากเข้าไปยังสถานประกอบการขนาดใหญ่รวมทั้งศูนย์การค้า จึงขอเตือนว่าจะต้องกำหนดจำนวนปริมาณคนที่จะเข้าไปใช้บริการในสถานที่เหล่านั้น เป็นไปอย่างจำนวนจำกัด ต้องจัดให้ทยอยเข้าไป โดยใช้เวลาอยู่ในสถานประกอบการนั้น ๆไม่เกิน 2 ชั่วโมง 


ดังนั้น ทุกๆสถานประกอบการขนาดใหญ่ ศูนย์การค้าต้องมีเต็นท์หรือพื้นที่พักคอยด้านนอกห้าง เมื่อถึงเวลาก็ให้ทยอยเข้าไปตามช่วงเวลาที่กำหนดไว้ว่า เข้าไปได้เท่าไหร่อย่างไร รวมทั้งต้องมีมาตรฐานคัดกรองคนที่จะเข้าไปยังสถานที่เหล่านั้น ทั้งนี้ คุณกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย ซึ่งเป็นคณะทำงานภาคเอกชนที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์ COVID-19 เผยว่าธุรกิจอีกจำนวนหนึ่งน่าจะได้การเห็นชอบกลับมาเปิดประมาณวันที่ 17 พฤษภาคม ล็อตนี้จะเป็นกลุ่มค้าปลีก ทั้งห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า และร้านค้าภายในศูนย์การค้า เชื่อว่าครั้งนี้ธุรกิจจะถูกปลดล็อกมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับดุลพินิจของศูนย์บริหารโควิด (ศบค.) (ที่มา: แนวหน้า,มติชน)


KTBST: เรามีมุมมองเป็นบวกเล็กน้อยจากประเด็นข้างต้น จากสถานการณ์ COVID-19 ที่ดีขึ้น โดยจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยล่าสุด 6 พ.ค. มีจำนวนผู้ติดเชื้อเพียง 1 ราย เราเชื่อมั่นว่าหากสามารถรักษาระดับจำนวนผู้ติดเชื้อให้อยู่ในระดับต่ำ (low single digit) จะมีการอนุมัติให้เปิดล็อต 2 คือ ห้างสรรพสินค้า, ร้านค้าภายในศูนย์การค้าซึ่งรวมถึงร้านอาหารในห้างสรรพสินค้า (จะมีการจำกัดจำนวนคนนั่งและระยะห่างของโต๊ะ) ได้ใน 17 พ.ค. เบื้องต้น เราประเมินว่าจะส่ง sentiment เชิงบวกต่อราคาหุ้นดังนี้


กลุ่มห้างสรรพสินค้า ได้แก่ CRC (ซื้อ/ 46.50 บาท), CPN (ซื้อ/ 58.00 บาท), MBK (Not rated) และ SF (NR)


กลุ่มร้านค้าที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า ได้แก่ BEAUTY (Under Review), COM7 (ถือ/ 18.00 บาท), MC (ถือ/ 9.40 บาท)


กลุ่มร้านอาหารที่มีสาขาในห้างสรรพสินค้า ได้แก่ M (Not rated), SNP (Not rated), OISHI (Not rated), ZEN (ซื้อ/ 15.80 บาท), AU (Not rated)


กลุ่มร้านค้าประเภท specialty stores ได้แก่ HMPRO (ถือ/ 17.00 บาท), GLOBAL (ซื้อ/ 18.50 บาท), DOHOME (ซื้อ/ 10.30 บาท)


อย่างไรก็ตาม เรามองว่าโรงภาพยนตร์ที่อยู่ในห้างสรรพสินค้า ได้แก่ MAJOR (Not rated) จะเป็นกลุ่มสุดท้ายที่ได้เปิดดำเนินการ เราคาดว่าจะเปิดภายใน มิ.ย. แต่จะมีการกำหนดจำนวนคนเข้าใช้บริการ ทั้งนี้ เรายังให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่ม Commerce ที่ "เท่ากับตลาด"


( + ) BTS (ถือ/เป้า 12.20 บาท) ตัวเลขผู้โดยสาร BTS ปรับตัวดีขึ้น หลังผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์

อธิบดีกรมการขนส่งทางราง นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ เปิดเผยว่า หลังจากรัฐบาลเริ่มผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ พบว่ามีประชาชนใช้บริการระบบขนส่งทางรางเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2020 ที่ผ่านมาพบว่ามีผู้ใช้บริการระบบรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯ ทั้งหมด 395,062 คน แบ่งเป็นรถไฟฟ้า BTS จำนวน 233,300 คน, รถไฟฟ้า MRT จำนวน 140,530 คน, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 19,081 คน, และรถไฟ 2,151 คน โดยสำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า BTS หากเทียบกับช่วงที่มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ปรับตัวขึ้น +60% (ที่มา: ฐานเศรษฐกิจ)


KTBST: เรามีมุมมองเป็นบวกจากปัจจัยข้างต้น แม้ตัวเลขผู้โดยสารที่เปิดเผยออกมาดังกล่าวหากเทียบกับเดือน พ.ค. 2019 ยังปรับตัวลง -64% YoY ซึ่งยังต่ำกว่าที่เราประเมินว่ายอดผู้โดยสารในเดือน พ.ค. 2020 จะปรับตัวลงเฉลี่ยราว -40% YoY อย่างไรก็ตาม จากตัวเลขผู้โดยสารที่มีการฟื้นตัวชัดเจน และจากแนวโน้มมาตรการล็อกดาวน์ที่คาดจะมีการผ่อนคลายขึ้นเรื่อย ๆ เช่น การเปิดห้าง การผ่อนคลายนโยบาย Work from Home เราคาดว่าแนวโน้มผู้โดยสารจะอยู่ในช่วงขาขึ้นนับจากนี้ ปัจจุบันเรายังแนะนำ "ถือ" ด้วยราคาเป้าหมาย 12.20 บาท อิง SOTP อย่างไรก็ตาม เรามีโอกาสปรับคำแนะนำขึ้น จากสถานการณ์ COVID-19 ที่มีทิศทางดีขึ้นเรื่อย ๆ ขณะที่ BTS จะมีการประกาศ guidance FY21E ในช่วงต้นเดือน มิ.ย. นี้


Company Report


( + ) TU  (ซื้อ/เป้า 16.00 บาท), กำไร 1Q20 ดีกว่าคาดแม้รับผลกระทบจาก COVID-19 แนวโน้มดีขึ้นใน 2H20

เรายังคงคำแนะนำ "ซื้อ" ที่ราคาเป้าหมายที่ 16.00 บาท อิง 2020E PER ที่ 16x (-1SD ค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี) TU รายงานกำไรสุทธิใน 1Q20 ที่ 1.02 พันล้านบาท -20% YoY และ -4% QoQ อ่อนตัวจากยอดขายจากภาคร้านอาหารลดลงแต่ยังดีกว่าตลาดและเราคาด 20% และ 13% ตามลำดับ โดยร้านอาหารและโรงแรมในสหรัฐฯและในยุโรปรวมถึงไทยต้องปิดตัวลงชั่วคราวเพราะ COVID-19 โดยอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ที่ 16.2% สูงกว่าที่คาดที่ 15.8% อันเนื่องมาจากมียอดขายจากสินค้าแบรนด์ที่มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงเพิ่มขึ้น 


โดยเราคงประมาณการกำไรสุทธิในปี 2020E อยู่ที่ 4.75 พันล้านบาท (+24% YoY) จากการคาดว่าสถานการณ์ COVID-19 ที่ถึงแม้จะดีขึ้นในไทยแต่ยังต้องใช้เวลาหากภาคการท่องเที่ยวและร้านอาหารจะฟื้นกลับมาให้บริการตามปกติ และสถานการณ์การระบาดในสหรัฐซึ่งเป็นตลาดของ TU ยังคงเป็นที่กังวลจากยอดผู้ติดเชื้อที่ยังค่อนข้างมาก ทำให้ใน 2Q20E แนวโน้มอาจจะยังคงอ่อนตัวลง 


อย่างไรก็ตาม เราคาดว่าแนวโน้มผลกระทบจาก COVID-19 ผ่านพ้นจุด Peak และจะดีขึ้นในครึ๋งปีหลัง ราคาหุ้นปรับลดลง -6% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา เพราะผลกระทบจาก COVID-19 ขณะที่ยังมีความเสี่ยงหากสถานการณ์ COVID-19 ยังคงยืดเยื้อและไม่สามารถจบลงในปีนี้ อย่างไรก็ตามเราเชื่อว่า ราคาหุ้นมีโอกาสปรับตัวขึ้นได้ ปัจจัยหนุนคือ อาหารยังเป็นสินค้าจำเป็นและผู้ประกอบการอาหารพัฒนาระบบ Delivery ขึ้นอย่างต่อเนื่องและ COVID-19 ผ่านพ้นจุด Peak และมีแนวโน้มดีขึ้น รวมถึงราคาหุ้นปัจจุบันสะท้อนปัจจัยลบไปมากโดยซื้อขายกันอยู่ที่ 2020E PER ที่ 13x ใกล้เคียง -2SD แล้ว


( - ) BDMS (ถือ/ปรับเป้าลงเป็น 21.50 บาท) คาดกำไรสุทธิ 1Q20E ลดลง YoY และ QoQ จาก COVID-19

เรายังคงคำแนะนำ "ถือ" แต่ปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 21.50 บาท จากเดิมที่ 25.00 บาท อิงวิธี DCF (WACC 7.3%, terminal growth 3%) เทียบเท่า PER 43x เราประเมินกำไรสุทธิ 1Q20E ที่ 2,002 ล้านบาท (-76% YoY, -14% QoQ) แต่หากไม่รวมกำไรพิเศษใน 1Q19 กำไรปกติ 1Q20E จะหดตัว -32% YoY โดยเราคาดว่าลูกค้า IPD/OPD หดตัว -6% YoY และค่าใช้จ่าย SG&A ที่เพิ่มสูงขึ้นจากการเปิด รพ.กรุงเทพ อินเตอร์เนชั่นเนล และ wellness resort ในช่วง 2Q19 ทำให้เราคาดว่า Gross profit margin จะลดลงอยู่ที่ระดับ 33.5% 


ทั้งนี้เราปรับกำไรสุทธิปี 2020E/21E ลง -19%, -15% ตามลำดับ อยู่ที่ 7,810 ล้านบาท (-50% YoY) และ 9,274 ล้านบาท (+19% YoY) แต่หากไม่รวมกำไรพิเศษ 5,464 ล้านบาท กำไรปกติปี 2020E จะหดตัว -22% YoY ซึ่งผลกระทบหลักยังคงมาจากผลกระทบ COVID-19 และพ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยปรับสมมติฐานการเข้าใช้บริการของลูกค้าต่างชาติ 2Q20E -95% YoY ก่อนที่จะค่อยๆ กลับมาฟื้นตัวใน 2H20E ราคาหุ้นปรับตัวลดลง -19% และ underperform SET -4% ในช่วง 3 เดือน จากผลกระทบ COVID-19 อย่างไรก็ตามเราคาดว่าราคาปัจจุบันได้สะท้อนปัจจัยลบไปบางส่วนแล้ว ปัจจุบันเทรดที่ 2020E PER = 41.5x (เทียบเท่า 5-yr average PER 40x) และสูงกว่า peer (PER 32.6x)


( - ) ERW (ถือ/ปรับเป้าลงเป็น 3.20 บาท) 1Q20E พลิกเป็นขาดทุน ขณะที่ 2Q20E จะขาดทุนหนักกว่า

เรายังคงคำแนะนำ "ถือ" ERW แต่ปรับราคาเป้าหมายลงมาอยู่ที่ 3.20 บาท จากเดิมที่ 3.70 บาท โดยเรามีการเปลี่ยนวิธี valuation เป็น DCF (WACC 7.6%, terminal growth 2.5%) จากเดิมที่อิง PER โดยเราคาดว่า ผลการดำเนินงานใน 1Q20E จะพลิกเป็นขาดทุนสุทธิ 115 ล้านบาท จากกำไรสุทธิใน 1Q19 ที่ 235 ล้านบาท และจาก 4Q19 ที่ 176 ล้านบาท เนื่องจากผลกระทบจาก COVID-19 ทำให้ RevPar หดตัวถึง -42% YoY โดย กทม. หดตัวลงแรงกว่าต่างจังหวัด 


ขณะที่เรามีการปรับประมาณการผลการดำเนินงานในปี 2020E ลงเป็นขาดทุนสุทธิ 580 ล้านบาท จากเดิมที่คาดว่ากำไรสุทธิ 232 ล้านบาท และปรับกำไรสุทธิปี 2021E ลง -49% เนื่องจากผลกระทบ COVID-19 ที่มากกว่าคาด ทั้งนี้ เราคาดว่า แนวโน้มผลประกอบการใน 2Q20E จะขาดทุนมากกว่า 1Q20E เพราะได้รับผลกระทบ COVID-19 เต็มไตรมาส ขณะที่เราเชื่อว่าสถานการณ์น่าจะเริ่มเห็นการฟื้นตัวได้ในช่วง 4Q20E ราคาหุ้นในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น +10% เพราะสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศที่ดูผ่อนคลายมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดี เรามองว่า COVID-19 ยังไม่ได้รับการคลี่คลายแบบชัดเจนจนกว่าจะมีการคิดค้นยารักษาได้ ประกอบกับ ยังคงต้องรอความชัดเจนจากการเปิดใช้สนามบินเพิ่มเติม ซึ่งจะทำให้ระยะสั้นราคาหุ้นยังคงมีความเสี่ยง จึงแนะนำเพียง "ถือ"


( 0 ) Power (Neutral) COVID-19 คาดกระทบจำกัด - เลือกโรงไฟฟ้า IPP จากผลประกอบการมั่นคงที่สุด

เรายังคงน้ำหนักการลงทุนกลุ่มไฟฟ้า "เท่ากับตลาด" ทั้งนี้เราประเมินกำไรปกติ 1Q20E ของกลุ่มเติบโตได้ทั้ง YoY (จากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นระหว่างปี และค่าก๊าซธรรมชาติที่ลดลง) และ QoQ (หลังผ่านช่วง low season ของโรงไฟฟ้า IPP-SPP ใน 4Q19) โดยหุ้นที่ตลาดให้ความสนใจคาดมีผลประกอบการดังนี้ GULF (-3% YoY, +24% QoQ), RATCH (+1% YoY, +217% QoQ), BGRIM (+51% YoY, +56% QoQ), GPSC (+77% YoY, +22% QoQ) 


โดยเราประเมินโรงไฟฟ้า IPP มีโอกาส outperform ตลาดได้ต่อ จากผลกระทบที่จำกัดจาก COVID-19 หลังรายได้อิงค่าความพร้อมจ่ายตามสัญญากับ EGAT ต่างจาก SPP ซึ่งพึ่งพิงรายได้บางส่วนจากปริมาณการใช้ไฟฟ้าให้กับลูกค้าอุตสาหกรรม ทั้งนี้เราเลือก RATCH เป็นหุ้นเด่นจากการมีรายได้จาก IPP มากที่สุด และปัจจุบันเทรดใกล้เคียงค่าเฉลี่ยย้อนหลัง PER 3 ปี laggard กว่าผู้เล่น IPP-SPP ซึ่งส่วนใหญ่เทรดที่ +1SD สูงกว่าค่าเฉลี่ย PER ย้อนหลัง


ราคาหุ้นในกลุ่ม outperform ตลาดมาตลอด 12 เดือนย้อนจากการเป็น defensive sector ซึ่งได้รับผลกระทบจำกัดทั้งจากภาวะเศรษฐกิจและ COVID-19 อย่างไรก็ตาม key challenge ยังอยู่ที่ price momentum อาจไม่ร้อนแรงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิด COVID-19 จาก 1) Key driver เป็น story เดิม คาดไม่สร้าง impact เหมือนครั้งแรกที่ตลาดรับรู้ 2) ตลาดรอดูความคืบหน้าของโครงการที่ได้ประกาศออกมาซึ่งปัจจุบันมีโอกาสล่าช้าสูง และ 3) ปัจจุบัน portfolio ของกลุ่มค่อนข้างใหญ่ การหาโครงการใหม่เพื่อเป็น key catalyst จำเป็นต้องเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งปัจจุบันเริ่มหาได้ยาก


( 0 ) AEONTS (ถือ/เป้า 140.00 บาท) คาดกำไร 1QFY21E จะเป็นจุดต่ำสุด

เราคงคำแนะนำ "ถือ" และราคาเป้าหมายที่ 140.00 บาท อิง FY2021E PBV = 1.5x (-1.25SD below 5-yr average PBV) โดยเรามองเป็นกลางต่อการจัด Group conference จากผลการดำเนินงานที่จะยังเป็นตามที่เราคาด โดยจะหดตัวสูง YoY และ QoQ ใน 1QFY21E จาก 1) การ lock-down กิจกรรมต่างในประเทศ ทำให้การใช้จ่ายผ่านบัตรลดลง, 2) สภาพเศรษฐกิจที่หดตัวจะกระทบต่อกลุ่มลูกหนี้ที่มีรายได้น้อย จากการชะลอการซื้อสินค้าเงินผ่อน หรือสินค้าที่มีความจำเป็นต่ำลดลง และ 3) NPLs จะปรับตัวเพิ่มขึ้น และกดดันให้ค่าใช้จ่ายสำรองฯสูงขึ้น 


ทั้งนี้เราจึงคงประมาณการกำไรปกติ FY2021E ที่ 3.08 พันล้านบาท (-10% YoY) ราคาหุ้นปรับตัวขึ้น และ outperform SET +22% ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา จากราคาหุ้นที่เทรดต่ำสุดตั้งแต่ปี 2018 และสถานการณ์ COVID-19 ในประเทศที่คลี่คลายขึ้นเป็นหลัก เรายังคงคำแนะนำ "ถือ" เนื่องจากเราคาดว่ากำไรปกติ FY2020-22E จะเติบโตที่ -5% CAGR จากภาวะเศรษฐกิจ และความเสี่ยงจากมาตรการลดดอกเบี้ยช่วยเหลือลูกหนี้ที่จะมี downside ต่อกำไรสุทธิ FY2021E -7% ต่อลูกหนี้ที่เข้ามาเจรจาขอลดดอกเบี้ยทุกๆ 5% ของสินเชื่อรวม


( 0 ) AMATA (ขาย/เป้า 10.00 บาท) คาดกำไรสุทธิ 1Q20E ได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยน

เรายังคงคำแนะนำ "ขาย" ที่ราคาเป้าหมาย 10.00 บาท อิง 2020E PBV ที่ 0.7x (-2.75SD below 5-yr average PBV) เราประเมินกำไรสุทธิ 1Q20E ที่ 254 ล้านบาท (-8% YoY, +2% QoQ) โดยลดลง YoY จากขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนธุรกิจไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่สูงขึ้นเป็นหลัก 


ทั้งนี้เรายังคงประมาณการกำไรปกติปี 2020E ที่ 1.17 พันล้านบาท (-38% YoY) จากยอด transfer ที่ลดลงอยู่ที่เพียง 288 ไร่ จากปีก่อน 867 ไร่ ราคาหุ้นปรับตัวลดลงและ underperform SET -5% และ -12% ในช่วง 1 และ 3 เดือนที่ผ่านมา จากสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และฐาน Backlog ที่ลดลง (ณ ปัจจุบันอยู่ที่เพียง 494 ไร่ลดลงจากปี 1H19 ที่ 874 ไร่) ในขณะที่แนวโน้มผลประกอบการปี 2020E ยังมีความเสี่ยงอีกมากจาก 1) ยอด presale ที่จะยังไม่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยและจะได้รับผลกระทบ COVID-19 และ 2) นิคมเวียดนามที่จะยังต้องใช้ระยะเวลาในการปรับปรุงและขอใบอนุญาตใหม่


Technical View


SET Index

1278.63  -23.03 (-1.77%) // 51,385

มีแนวโน้มพักตัว สลับการดีดกลับระหว่างทาง 

กรอบการเคลื่อนไหว 1268-1285 จุด

  

ดัชนีวันแรกของสัปดาห์เปิดตัวในทิศทางลง  หลังจากขึ้นทดสอบ 1300 แต่ไม่สามารถไปต่อได้ ในลักษณะการเปิด Gap (1289-1292) ลง กรอบการเคลื่อนไหว 1278-1289 จุด พร้อมกับปิดตัวที่จุดต่ำสุดของวันที่ 1278 จุด  ส่งผลให้กลุ่มกราฟแท่งเทียนมีรูปแบบ Island Reversal ประกอบกับกราฟแท่งเทียนของวันอังคารที่ผ่านมามีสัญญาณที่เป็น Bearish ทำให้น้ำหนักทางลงมีมากขึ้น หรืออาจจะเป็นการบ่งบอกถึงการจบรอบการฟื้นตัว แต่อย่างไรก็ตามหากดัชนีพลิกกลับขึ้นปิด Gap ที่เปิด (1289-1292) จะทำให้ลบภาพของการจบรอบฟื้น นั้นหมายถึงของการเดินหน้าได้ต่อ ขณะที่ภาพระดับวันยังให้น้ำหนักทางลง สลับดีดกลับระหว่างทางจากสัญญาณรายชม.ที่เริ่มเข้าเขตขายมากเกินไป  


แนวรับ   1265-1270

แนวต้าน  1285-1290


"หุ้นในดวงใจ"


BCP    ปิด   18.60   +0.10  +0.54%

แนวรับ       18.30-18.50 

แนวต้าน      18.90-19.20 

Cut Loss <  18.00


PSTC   ปิด  0.40   +0.05  +14.29%

แนวรับ       0.36-0.38 

แนวต้าน      0.42-0.45 

Cut Loss <  0.34 


News Summary


Market

ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 พ.ค.) หลังจากมีรายงานว่าตัวเลขจ้างงานของภาคเอกชนสหรัฐร่วงลงกว่า 20 ล้านตำแหน่งในเดือนเม.ย. ซึ่งทำให้นักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับการทรุดตัวของตลาดแรงงาน อันเนื่องมาจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดอย่างหนัก อย่างไรก็ดี ดัชนี Nasdaq ปิดในแดนบวก โดยได้แรงหนุนจากคำสั่งซื้อหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี


ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 23,664.64 จุด ลดลง 218.45 จุด หรือ -0.91% ขณะที่ดัชนี S&P500 ปิดที่ 2,848.42 จุด ลดลง 20.02 จุด หรือ -0.70% ส่วนดัชนี Nasdaq ปิดที่ 8,854.39 จุด เพิ่มขึ้น 45.27 จุด หรือ +0.51%


ตลาดหุ้นยุโรปปิดลดลงเล็กน้อยเมื่อคืนนี้ (6 พ.ค.) เนื่องจากนักลงทุนวิตกเกี่ยวกับการคาดการณ์ที่ว่าเศรษฐกิจยูโรโซนจะหดตัวลงในปีนี้ แม้ว่าหลายประเทศในยุโรปเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 คลี่คลายแล้วก็ตาม


ดัชนี Stoxx Europe 600 ลดลง 0.35% ปิดที่ 334.34 จุด


ดัชนี DAX ตลาดหุ้นเยอรมนีปิดที่ 10,606.20 จุด ลดลง 123.26 จุด หรือ -1.15% และดัชนี CAC-40 ตลาดหุ้นฝรั่งเศสปิดที่ 4,433.38 จุด ลดลง 49.75 จุด หรือ -1.11% ขณะที่ดัชนี FTSE 100 ตลาดหุ้นลอนดอนปิดที่ 5,853.76 จุด เพิ่มขึ้น 4.34 จุด หรือ +0.07%


สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ตลาดนิวยอร์กปิดลบเมื่อคืนนี้ (6 พ.ค.) ทำสถิติปิดในแดนลบเป็นวันแรกในรอบ 6 วันทำการ เนื่องจากนักลงทุนวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะน้ำมันล้นตลาด แม้มีรายงานว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐเพิ่มขึ้นน้อยกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์และการผลิตน้ำมันดิบปรับตัวลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมาก็ตาม


สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนมิ.ย. ลดลง 57 เซนต์ หรือ 2.3% ปิดที่ 23.99 ดอลลาร์/บาร์เรล


สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ส่งมอบเดือนก.ค. ร่วงลง 1.25 ดอลลาร์ หรือ 4% ปิดที่ 29.72 ดอลลาร์/บาร์เรล


สัญญาทองคำตลาดนิวยอร์กปิดร่วงหลุดจากระดับ 1,700 ดอลลาร์เมื่อคืนนี้ (6 พ.ค.) โดยได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินดอลลาร์ และจากการที่นักลงทุนเทขายทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย หลังจากมีรายงานว่า รัฐต่างๆในสหรัฐได้เริ่มกลับมาเปิดเศรษฐกิจอีกครั้ง


สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนมิ.ย. ร่วงลง 22.1 ดอลลาร์ หรือ 1.29% ปิดที่ 1688.5 ดอลลาร์/ออนซ์      


Economic & Company


ธปท.เตือนศก.ไตรมาส 2 'ทรุด' หวังแพ็คเกจเงินกู้ '1.9 ล้านล้าน' พยุงจีดีพี 9%

แจงซอฟท์โลนล็อตแรก 2 หมื่นล้าน ถึงมือเอสเอ็มอี                    

"แบงก์ชาติ" ยอมรับเศรษฐกิจไตรมาส 2 ส่อหดตัวหนักขึ้น จากผลกระทบโควิด หวังเม็ดเงินรัฐ 1.9 ล้านล้าน ช่วยพยุง "จีดีพี" ชี้ซอฟท์โลนหากใช้หมดหนุนเศรษฐกิจโต 3% ขณะเงินกู้ 1 ล้านล้าน ช่วยดัน"จีดีพี" ได้ถึง 6% ส่วนเศรษฐกิจเดือนมี.ค.ทรุดหนัก ท่องเที่ยวหดตัว 76% ขณะการบริโภคติดลบครั้งแรกรอบ 5 ปี


อุตฯยานยนต์อ่วมทั้งปี ปิดโรงงาน-ชิ้นส่วนระส่ำ

อุตฯยานยนต์ 2 ล้านล้านดิ่งหนัก รง.ผลิตเลื่อนเปิดยาว "โตโยต้า-นิสสัน" ปิดต่อถึงสิ้น พ.ค. เหตุรถค้างสต๊อกลอตใหญ่ หลังส่งออกไม่ขยับ-ยอดขายในประเทศหดตัวกว่า 50% ผู้ผลิตชิ้นส่วนในระบบกว่าหมื่นรายกระอัก ไม่มีออร์เดอร์จากค่ายรถ คาดเดี้ยงยาวถึงปลายปี หวัง "ปิกอัพ" ฟื้นก่อนช่วยพยุง บิ๊กรถยนต์ยื่นหนังสือรัฐบาลอัดมาตรการดันรถเก่าออกจากตลาด หนุนซื้อรถใหม่


DOHOME รุกออนไลน์ ส่งไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊ก อัดโปรแรงช้อปสินค้า

DOHOME จัดแคมเปญ  "ดูโฮม โปรแรง ช้อปง่าย สบายกระเป๋า" ทำไลฟ์สดขายสินค้าผ่านเฟซบุ๊ก Dohome Online รองรับพฤติกรรมผู้บริโภคติดช้อปปิ้งออนไลน์มากขึ้น พร้อมเตรียมมาตรการป้องกันโควิด-19 หากภาครัฐผ่อนคลายล็อกดาวน์


PSTC นับถอยหลังเข้า SET แบ็กล็อกเฉียด 3 พันล้าน

PSTC เตรียมยื่นเรื่องขอย้ายกระดานเทรด SET ภายในปีนี้ พร้อมยันเป้ารายได้เติบโต 5% จากแบ็กล็อกเฉียด 3 พันล้านบาท และรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน 12 โครงการ ขนาดกำลังผลิตรวม 34.6 เมกะวัตต์ ด้านผู้ถือหุ้น PSTC ไฟเขียวจ่ายเงินปันผลประจำปี 2562 อัตราหุ้นละ 0.010 บาท เตรียมรับเงินสด 29 พฤษภาคมนี้          


SSP บุ๊กรายได้โรงไฟฟ้ายามากะ ลุ้นเวียดนามเฟส 2 กว่า 100 MW

SSP เดินหน้ารับทรัพย์ บุ๊กรายได้ไฟฟ้า ยามากะ 34.5 MW ลุ้นลงทุนพลังงานแสงอาทิตย์-ลม ประเทศเวียดนาม เฟส 2 กำลังผลิตรวมกว่า 100 เมกะวัตต์ พร้อมซดไฟฟ้ามองโกเลีย-เวียดนาม กำลังการผลิตรวม 66 เมกะวัตต์ เต็มปีเป็นปีแรกหนุนผลงานปีนี้เข้าเป้าโต 20%


VIBHA ทุ่มงบ 1 พันล.ขยายฐาน ลุยแผนสร้าง 'วิภารามอ่อนนุช'

VIBHA เดินหน้าทุ่มงบราว 1 พันล้านบาท ปั้นโรงพยาบาล "วิภาราม อ่อนนุช" ขยายฐานต่อยอดอนาคต พร้อมตอกย้ำปี 2563 รายได้เติบโต 10% จากปีก่อนที่ 7.13 พันล้านบาท รับอานิสงส์ผู้เข้าใช้บริการเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ชูพื้นฐานแกร่ง


อยากลงทุนสำเร็จ เป็นเพื่อนกับเรา พร้อมรับข่าวสารได้ทุกช่องทางที่
APP ทันหุ้น ANDROID คลิ๊ก
https://qrgo.page.link/US6SA
APP ทันหุ้น IOS คลิ๊ก
https://qrgo.page.link/QJKT7
LINE@ คลิ๊ก
https://lin.ee/uFms4n5
FACEBOOK คลิ๊ก
https://www.facebook.com/Thunhoonofficial/
YOUTUBE คลิ๊ก
https://www.youtube.com/channel/UCYizTVGMealUUalT6VdUdNA
TELEGRAM คลิ๊ก
https://t.me/thunhoon_news
Twitter คลิ๊ก
https://twitter.com/thunhoon1


จาก
ถึง
Select...
หุ้น
Select...
หัวข้อ
Select...

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของคุณให้ดียิ่งขึ้น การใช้งานเว็บไซต์นี้เป็นการยอมรับข้อกำหนดและยินยอมให้เราจัดเก็บคุ้กกี้ตามนโยบายความเป็นส่วนตัวของเรา  อ่านเพิ่มเติม

X